สำนวนไทยในหมวดต่างๆ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ก.ไก่

กระดี่ได้น้ำ (As gay as a lark.)
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย

 

 

 

 

ความหมาย ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น เกินงาม

กิ้งก่าได้ทอง
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย

ความหมาย คนเย่อหยิ่งจองหอง หรือลำพองตน เป็นการพูดติเตียนบุคคลผู้หลงผิดคิดว่าตนดีกว่าคนอื่น หรือคนที่มีฐานะด้อย เมื่อได้ดีแล้วลืมตัว ทำเย่อหยิ่งไม่นึกถึงคนที่เคยทำคุณแก่ตน

ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
ความหมาย ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง คนจะงามได้ก็ต้องแต่งตัวให้ดูดี

กลิ้งครกขึ้นภูเขา
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
ความหมาย เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา

  • กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา  ความหมาย คนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้วคิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อน
  • กินปูนร้อนท้อง  ความหมาย คนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้
  • ไก่แก่แม่ปลาช่อน    ความหมาย   หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน
  • กิ่งทองใบหยก    ความหมาย    หญิงและชายที่มีฐานะเสมอกัน ทั้งหน้าตาและรูปร่างสวยงามพอกัน มีอะไรที่เหมาะสมกัน จึงเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกันมาก
  • กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง ความหมาย  รู้ดีอยู่แก่ใจ เพราะทำเองแล้วแสร้งไม่รู้ไม่เห็น
  • กำขี้ ดีกว่า กำตด  ความหมาย  ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน
  • ใกล้เกลือกินด่าง    ความหมาย    ใกล้ของดี แต่ไม่ได้กิน อยู่ใกล้กับของดีแท้ ๆ แต่ไม่ได้รับเพราะกลับไปคว้าเอาของที่ดี หรือมีราคาด้อยกว่า
  • ก่อกรรมทำเข็ญ    ความหมาย    ทำให้ยุ่งยากลำบากใจ
  • เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน  ความหมาย  ถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อย ๆ ทำให้มีผลได้แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หลุดลอยไปเสีย
  • กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้  ความหมาย  ช้าเกินการ ได้อย่างเสียอย่าง การทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน การคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่ง
  • กินที่ลับ ขับที่แจ้ง ความหมาย  ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนเก่งกล้า หรือสามารถทำอย่างนั้นได้
  • กินน้ำใต้ศอก  ความหมาย  หญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย หรือ ได้อะไรที่ไม่เทียมหน้าเทียมตาคนอื่นเขา
  • เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง ความหมาย การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได้
  • ไก่กินข้าวเปลือก ความหมาย ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได้ นั่นเอง
  • แกว่งเท้าหาเสี้ยน  ความหมาย คนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ
  • กินข้าวร้อนนอนสบาย ความหมาย เกียจคร้าน ชอบทำอะไรจวนตัว

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ข.ไข่

  • ขี่ช้างจับตั๊กแตน
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน
  • เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย ที่ใหนเขาประพฤติอย่างไร ก็ประพฤติตามเขาไปด้วย อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา
  • ขว้างงูไม่พ้นคอ
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้
  • ข้าวใหม่ปลามัน 
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ
  • เขียนเสือให้วัวกลัว ความหมาย การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนให้กลัว
  • ขมินกับปูน ความหมาย คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูน
  • ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ความหมาย การทำอะไร ที่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทราม หรือการทุจริต โดยไม่มีความละอายใจ ให้ผู้อื่นเห็น โดยเฉพาะ หมายถึง ผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อย เห็นอย่างชัดแจ้ง
  • ขนมพอผสมกับน้ำยา ความหมาย ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้
  • ขี่ช้างอย่าวางขอ ความหมาย การที่มีลูกน้อง หรือมีผู้น้อยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของเรา ก็อย่าประมาทละเลยเสีย ต้องหมั่นกวดขันกำชับ เปรียบได้กับคนขี่ช้างต้องคอยถือขอสับช้างบังคับช้างไว้อยู่ตลอดเวลา ถ้าวางขอหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้ ช้างก็อาจพาลเกเรไม่ทำงานได้
  • เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า ความหมาย คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ
  • ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง ความหมาย สิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี หรือของแท้นัก

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ค.ควาย

  • คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คนที่เคยมีอำนาจและวาสนามาก่อน แต่ต้องตกต่ำลงก็อย่าเพิ่งไปคิดดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะเขาอาจกลับฟื้นฟูขึ้นอีกได้ ไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีชีวิตวางทิ้งไว้จะข้ามจะเหยียบอย่างไรก็ได้
  • คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย
  • คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ 
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คนที่จะรักเราจริง ๆ มีน้อยแต่คนเกลียดหรือคนชังเรามีเป็นส่วนมากกว่า
  • คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย ความหมาย เมื่อเวลาไปไหนคนเดียวไม่ปลอดภัยนัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าไปด้วยกันสองคน ก็อาจจะช่วย ขจัดเหตุร้าย หรือเป็นเพื่อนอุ่นใจ ได้ดีกว่า ไปคนเดียว
  • ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก ความหมาย มีเรื่องราว เดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไข หรือจัดการให้สงบดี ก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีกครั้ง
  • คนตายขายคนเป็น ความหมาย คนที่ตายไปแล้ว มีหนี้สินติดตัวอยู่มาก ทำให้คนที่อยู่ ซึ่งเกี่ยวข้อง หรือเป็นญาติพี่น้องต้องรับผิดชอบใช้หนี้ และมิหนำซ้ำ ต้องเป็นภาระในการจัดทำศพอีกด้วย
  • โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ความหมาย คิดกำจัดศัตรู ก็ต้องปราบให้เรียบ อย่าให้พรรคพวกของมันเหลือไว้เลย แม้แต่คนเดียว มิฉะนั้นพวกที่เหลือนี้จะกลับฟื้นฟูกำลังขึ้นมา เป็นศัตรูกับเราภายหน้าได้อีก คือต้อง ขุดราก ถอนโคน
  • ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ความหมาย เป็นคนมีความรู้สารพัด เกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่องขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญาแก้ไข
  • คางคกขึ้นวอ

    ความหมาย เปรียบเทียบคนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว วอในที่นี้ มีความหมายถึง วอที่นั่ง มีบริวารคอยหามเวลาเดินทางไปใหนมาใหน
  • คลื่นกระทบฝั่ง ความหมาย คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วดูจะเป็นเรื่องใหญ่โต เรื่องสำคัญแต่แล้วเรื่องนั้นก็เงียบหายไปเฉยๆ เหมือนกับคลื่นน้ำในทะเลนั่นเอง
  • คบคนจรหมอนหมิ่น ความหมาย คบคนแปลกหน้า ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเกิดโทษหรืออันตรายได้ เหมือนหนุนหมอนหมิ่น ๆ ไม่ยอมหนุนตรงกลางหมอนอาจตกหมอนคอเคล็ดได้เช่นกัน
  • คมในฝัก ความหมาย เป็นคนเก่ง แต่เงียบไว้ไม่โอ้อวด
  • คาบลูกคาบดอก ความหมาย อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน เปรียบเทียบกับ ต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกันนั่นเอง
  • คู่เรียงเคียงหมอน ความหมาย ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันนั่นเอง
  • คดในข้องอในกระดูก ความหมาย คนที่เชื่อและไว้วางใจไม่ได้ ซึ่งมีสันดานคดโกงและฉ้อฉล

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ง.งู

  • งูเห็นนมไก่ ไก่เห็นตีนงู

    ความหมาย คนสองคนต่างคนต่างเห็นหรือรู้เรื่องเดิมหรือรู้ความในกันดี แต่คนอื่นอาจไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องของคนสองคนนี้เลย
  • งูกินหาง

    ความหมาย เกี่ยวกันเป็นวงจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ตัวอย่าง ฉันเบื่อการทวงหนังสือคืนแล้วหละ ทวงคนนี้บอกว่าอยู่ที่คนนั้น ทวงคนนั้นบอกว่าอยู่ที่คนโน้น ไม่สิ้นสุดราวกับงูกินหางเลยทีเดียว
  • งอมพระราม ความหมาย มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เหมือนพระรามต้องถูกขับไล่ไปอยู่ป่า
  • งูเงี้ยวเขี้ยวขอ ความหมาย สัตว์ร้ายนานาชนิดสำนวนนี้บ่งบอกถึงอันตรายตรงๆของสัตว์มีพิษพวกนี้เพราะชีวิตของคนสมัยก่อนต้องทำไร่ทำสวน ต้องเดินผ่านสุมทุมพุ่มไม้ หรือเดินตามคันนาหัวไร่ หรือไปไหนมาไหนตอนกลางค่ำกลางคืนก็ให้ระวัง งูเงี้ยวเขี้ยวขอ มันจะกัดจะต่อยเอา
  • เงาตามตัว หมายถึง ผลของการกระทำที่เกิดตามติดมาทันที หรือผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย
  • เหงื่อไหลไคลย้อย หมายถึง เหงื่อ และขี้ไคล เช่น อากาศร้อนมากจนเหงื่อไหลไคลย้อยกันหมดแล้ว หรือออกแรงทำงานหนัก ๆ
  • งมเข็มในมหาสมุทร

    หมายถึง ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก
  • เงื้อง่าราคาแพง หมายถึง จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่าหรือวางท่าว่าจะทําเท่านั้น
  • โง่เง่าเต่าตุ่น หมายถึง โง่มาก คือ เต่าเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า ตุ่นเป็นสัตว์ที่รูปร่างคล้ายหนู ชอบขุดรูอยู่ ชอบกินพืช เต่าและตุ่นมักถูกนำมาเปรียบกับคนโง่และคนเซ่อ เง่าหรือง่าว เป็นคำไทยเหนือแปลว่า โง่

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด จ.จาน

  • จับปลาสองมือ

    ความหมาย คนที่อยากจะได้สองอย่างทีเดียวพร้อมๆ กัน  โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ เปรียบเทียบกับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมด ไม่ได้อะไรเลย
  • จับเสือมือเปล่า

    ความหมาย ใช้เปรียบกับการที่ทำงานอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่มีทุนจะลงเลย ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามเรียกว่าเป็นการลองเสี่ยง หรือการลองใช้ความสามารถส่วนตัวทำดู
  • จอดเรือไม่ดูท่า ขี่ม้าไม่ดูทาง

    ความหมาย การทำอะไรไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอาจจะเกิดการผิดพลาดหรือเสียหายได้ เปรียบเทียบกับการจอดเรือหรือขี่ม้า ถ้าไม่ตรวจดูท่าจอดให้แน่นอน หรือไม่ดูหนทางที่จะขี่ม้าไปว่าจะเหมาะหรือไม่ อาจจะเกิดความผิดพลาดเสียหายได้
  • โจรปล้น ๑๐ ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว ถึงแม้คนเราจะถูกโจรขึ้นปล้นบ้านสัก ๑๐ ครั้ง ก็ยังไม่ทำให้ข้าวของ หรือทรัพย์สินบางอย่างภายในบ้านเราถึงขนาดหมดเกลี้ยงตัวเลยทีเดียวนัก แต่ไฟไหม้ครั้งเดียว เผาผลาญทั้งทรัพย์สิน และที่อยู่เราวอดวายเป็นจุลไปหมดเกลี้ยง
  • จับปูใส่กระด้ง

    ความหมาย ปูมักไม่คอยจะอยู่นิ่งเมื่อจับไปวางตรงไหน มันก็พยายามจะไต่ไปไต่มาเพื่อจะหาทางออก หรือคิดหนีไปท่าเดียว เปรียบได้กับคนหรือเด็กเล็ก ๆ ที่ซกซนอยู่ไม่นิ่ง ถึงจะอยู่ในที่บังคับอย่างไรก็จะดิ้นหรือซนเรื่อยไป
  • ใจปลาซิว ความหมาย มีใจไม่อดทน ยอมแพ้อะไรง่ายๆ
  • จ้าวไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด ความหมาย เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนที่เร่ร่อนไม่มีที่อยู่ประจำเป็นหลักแน่นอน.
  • จิ้งจกตีนศาล ความหมาย หากินเล็กๆน้อยๆ กับผู้มาติดต่อราชการ หรือพวกกระจอกงอกง่อย
  • เจ้ายศเจ้าอย่าง ความหมาย ถือยศถาบรรดาศักดิ์ ถือตัวถือศักดิ์ มีพิธีรีตรอง
  • จับแพะชนแกะ ความหมาย เอาทางโน้นมาใช้ทางนี้ เอาทางนี้ไปแทนทางโน้น สับสนวุ่นวายไปหมดหรือทำให้ไม่ประสานกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน นั่นเอง
  • จูบคำถลำแดง ความหมาย มุ่งหมายที่จะเอาอย่างหนึ่ง กลับไปได้อีกอย่างหนึ่ง
  • เจ้าชู้ประตูดิน ความหมาย เจ้าชู้ที่เกี้ยวไม่เลือกหน้า คือสมัยก่อนหนุ่มๆที่อยากดูสาวชาววังก็ต้องรอตอนสาวชาววังออกมาจับจ่ายซื้อหาข้าวของนอกประตูดินถึงจะได้เห็น และได้เกี้ยว
  • เจ้าชู้ไก่แจ้ ความหมาย บุคคลบางคน มีนิสัยชอบผู้หญิง แต่ไม่กล้าไปพูดจาเกี้ยวพาราสีกลัวเขาจะไม่พูดด้วย กลัวจะเสียหน้า จึงได้แต่แต่งตัวดี ๆ แต่งตัวหล่อ ๆ หวีผมทาแป้งแล้วไปเดินผ่าน เดินกรีดกรายทำท่าทางกระดิกกระดี้ให้หมู่สตรีเขาแลมองเท่านั้นเอง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฉ.ฉิ่ง

  • ฉลาดแกมโกง ความหมาย การใช้ความรู้ความสามารถเอาเปรียบผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น ศรีธนญชัย
  • ฉิบหายวายป่วง ความหมาย การทำอะไรที่ ทำให้สูญเสียหมด ล่มจม วอดวาย
  • ฉ้อราษฎร์บังหลวง ความหมาย ข้าราชการที่ใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังเอาเงินทอง และทรัพย์สิน โดยอำนาจหน้าที่ราชการที่มีอยู่
  • ฉับพลันทันด่วน ความหมาย เป็นอะไร หรือ เกิดอะไรขึ้น รวดเร็ว ไม่ทันตั้งตัว
  • ฉกชิงวิ่งราว ความหมาย มิจฉาชีพที่ทำอาชีพทุจริต โดยการ ฉก ชิง วิ่งราว แย่งเอาจากเจ้าของโดยไม่ได้ยินยอม
  • ฉิบหายขายตน ความหมาย เหมือนกับ ฉิบหายวายป่วง คือ เกิดความสูญเสีย ล่มจม วอดวาย

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ช.ช้าง

  • ช้า ๆ ได้พร่าเล่มงาม

    ความหมาย การทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามุ่งจะให้ได้ประโยชน์สมบูรณ์ก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ หรือไม่รีบร้อนจนเกินไปนัก คือ ให้ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ อย่าเร่งรีบจนเกินไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำงานแบบเอื่อยเฉื่อยไม่มีความกระตือรือร้น
  • ชักแม่น้ำทั้งห้า ความหมาย การเจรจา หว่านล้อมหรือขอร้องอะไรก็ตามที่จะไม่พูดตรงๆ แต่จะพูดอ้อมๆหว่าน ล้อมก่อนจะเข้าจุดประสงค์
  • ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน นำศัตรูเข้าบ้าน คือ ทำอะไรก็ตามที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัวเอง
  • ชาติคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก ความหมาย คนที่อวดดี หรือชอบกระทำนอกลู่นอกทาง เมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่เชื่อฟัง ยังขืนกระทำ จนเขาหมั่นไส้ปล่อยให้ลองทำเพื่อจะให้รู้สึกตัวบ้าง เพราะเชื่อว่าการกระทำนั้น ๆ จะต้องได้รับอันตรายถึงเลือดตกหรือเจ็บปวดเข้าก็ได้ จะได้รู้สึกได้ด้วยตัวเอง
  • ชักหน้าไม่ถึงหลัง ความหมาย เงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายเยอะ ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ ความหมาย ตามหลักที่ว่าผู้ชาย จะทำอะไรก็ต้องให้เก่งกล้า หรือองอาจ ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง โดยเฉพาะหมายความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วจะต้องเก่งกล้าสามารถทุกคนเปรียบได้กับเสือ เพราะเสือเป็นสัตว์ดุร้ายแต่เก่ง ถือเอาลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความ เก่งกาจ จึงได้ชื่อว่า ชาติเสือต้องไว้ลายชาติชายต้องไว้ชื่อ
  • ชักใบให้เรือเสีย ความหมาย เป็นการพูดหรือทำอะไรให้เป็นที่ขวาง ๆ หรือทำให้เรื่องในวงสนทนาต้องเขวออกนอกเรื่องไป โดยไม่คิดว่าเรื่องที่เขากำลังพูดหรือทำอยู่นั้นจะมีความสำคัญขนาดไหน จึงถือเป็นเรื่องไม่ถูกกาลเทศะ
  • ชิงสุกก่อนห่าม ความหมาย การทำอะไรก็ตาม ที่ข้ามขั้นตอน หรือยังไม่ถึงเวลาก็ชิงทำไปก่อน เช่น เด็กที่อายุไม่ถึงเวลามีแฟน ก็รีบมีก่อนที่จะเป็นสาวเต็มตัว
  • ชักธงขาว ความหมาย สัญลักษณ์ของการยอมแพ้
  • ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ ความหมาย ว่ายังไงว่าตามกัน หรือ ไม่ว่าผู้มีอํานาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ
  • ชี้โพรงให้กระรอก

    ความหมาย ผู้ที่ชอบทำอะไรอยู่เป็นนิสัยแล้ว เช่น ชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยว ก็จะไป หรือผู้ที่เป็นขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าขโมย เช่นนี้ เรียกว่า ชี้โพรงให้กระรอก
  • ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว ความหมาย สำนวนนี้ คือผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอา อาการกระทำเป็นเครื่องวัด ในความโลเล ไม่มั่นคง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ด.เด็ก 

  • ดอกกระดังงาไทย ไม่ลนไฟไม่หอม ความหมาย สิ่งใดก็ตามถ้าปล่อยทิ้งไว้เปล่า ๆ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งธรรมดา ไม่ดีหรือไม่เลว แต่ถ้าไปทำให้มีเรื่องขึ้น กลับดูเหมือนจะทำให้ดีกว่าเก่า ตามความหมายดังกล่าวนี้  เราจึงมักจะเอามาใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยว่า  หญิงสาวบางคนที่บริสุทธิ์ นั้นดูเป็นสิ่งธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นจุดเด่น หรือ แปลกตา แต่ถ้าได้แต่งงานกับสามีหรือหย่าร้างกันไปก็เหมือน ดอกกระดังงาไทย ที่นำมาลนไฟด้วยเทียนผึ้งแล้วก็จะมีกลิ่นหอมโชย
  • ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ความหมาย  ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ” ” ดูข้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน ” ดังที่ได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่สำนวนที่ว่า ” ดูช้างให้ดูหาง ” นี้ มุ่งให้ดูหางช้าง  ที่บอกลักษณะ ว่า เป็นช้างดี หรือ ช้างเผือก เพราะที่ปลายหางของมันยังเหลือให้เห็นสีขาวอยู่ ตามเรื่องที่เล่าว่า  เวลาช้างพังตกลูก เป็นช้างเผือกสีประหลาด พวกช้างพลายและช้างพังจะช่วยกัน ” ย้อม ” กลายลูกมันเสีย ด้วยการใช้ใบไม้ หรือ ขี้โคนดำ ๆ พ่นทับ เพื่อมิให้คนรู้ว่า เป็น ช้างเผือกแต่จะมีส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่นั่นก็คือหางของมันนั่นเอง
  • เดินตามหลังราชสีห์ ดีกว่าเดินตามก้นสุนัข  ความหมาย  เป็นสำนวนที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน  หรือ ไม่มีนานมานี้นัก เรืองอำนาจในสมัยนั้น โดยถือคติยอมเป็นสมัคพรรคพวกของผู้มีอำนาจราชศักดิ์  ดีกว่ายอมร่วมวง กับผู้ ที่ปราศจากอำนาจ หรือทรัพย์สินเงินทอง
  • ได้แกง เทน้ำพริก ความหมาย เปรียบเทียบว่า  ได้ใหม่แล้วลืมคนเก่านั่นเอง มักจะใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรย  ผู้ชายเราที่ได้ภรรยาใหม่ก็ทิ้งเก่าไปเลย คำว่า ” น้ำพริก ”  หรือ  น้ำพริกถ้วยเก่า  เราจะหมายถึงภรรยาเก่าโดยเฉพาะ ก็เหมือนอาหารที่เราทำแล้วไม่มีรสชาติหรือขาดอะไรไปบางอย่างนั่นเอง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ต.เต่า

  • ต้นไม้ตายเพราะลูก ความหมาย พ่อแม่ที่ต้องเสียเพราะลูก เช่น  การรักลูกมากจนยอมเสียสละชีวิต หรือทรัพย์สินเพื่อลูก ตามที่ว่า ” ต้นไม้ตายเพราะลูก ” โดยที่ว่าต้นไม้บางชนิด เมื่อมีลูก หรือ มีดอกผลมักจะตาย หรือ โคนเพราะคนมาเก็บ หรือเมื่อออกดอกออกผลแล้ว  ก็มักจะแห้งเหี่ยวตายไปตามๆกันเปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำ
  • ตกกระไดพลอยโจน ความหมาย เป็นสำนวนที่ หมายความว่า  ติงานที่เขากำลังเริ่มต้นทำใหม่ ยังไม่ทันได้เห็นผลงานของเขา หรือเรียกว่า  มีปากก็ติพล่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า  ฝีมือเขาจะเป็นยังไง ” โกลน ” สำนวนนี้หมายถึง ซุง ทั้งต้นที่เขาเอามาเกลาหรือถาก ตั้งเป็นรูปขึ้นก่อน เพื่อที่จะต่อเป็นเรือขุด โกลนในชั้นแรก จึงดูไม่ค่อยเป็น รูปร่างดีนัก
  • ตีวัวกระทบคราด ความหมาย เป็นการแสร้งทำหรือแสร้งพูด เพื่อที่จะให้กระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่ง การเอา วัวกับคาดมาเปรียบ ก็เพราะ คราดซึ่งใช้เป็นเครื่องมือกวาดลาน ฟาง หรือหญ้าในนานั้นผูกเป็นคันยาว ใช้วัวลากและคราดจะเป็นฝ่ายกระตุ้นให้วัวทำงานลากคราดไป ซึ่งผลงานคงจะอยู่ที่คราด เป็นตังกวาด เมื่อคราดไม่ทำงานก็เลยใช้วิธีตีวัวให้ลากคราด เป็นทำนองว่า ” ตีวัวกระทบคราด ” วัวเลยกลายเป็นแพะรับบาป เพราะคราด ความหมายคล้ายกับว่า  เราทำอะไรคนหนึ่งไม่ได้ แต่ไปลงกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นสัตว์เลี้ยง หรือคนที่ไม่รับรู้อะไรเลย
  • ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ความหมาย  เป็นการสอนให้คนเราประพฤติชอบแต่ในทางที่ดีไม่ให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย แม้จะมีฐานะยากจนหรือ เป็นตนใช้หรือลูกจ้างเขา ก็ตามแต่ ก็ต้องรักษาความดี ความซื่อสัตว์ รวมทั้งความสะอาดกายด้วย  อย่าปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อของความชั่วเป็นต้น
  • ตาบอดได้แว่น ความหมาย เช่น  คนหัวล้านได้หวี นิ้วด้วนได้แหวน ” มี ความหมายเดียวกัน หมายถึง การที่เราได้ในสิ่งที่มีประโยชน์แก่ตนเองแม้แต่น้อย เพราะคนศรีษะล้าน ย่อมไม่มีผมจะหวี และ คนตาบอดถึงจะใส่แว่นก็มองไม่เห็น เพราะคนตาบอดสัมผัสไม่ได้ถึงแสงสว่าง
  • ตีงูให้หลังหัก ความหมาย  เป็นการ เตือนสติให้เราได้รับรู้ว่า เมื่อคิดจะทำอะไรก็ต้อง ตัดสินใจทำเด็ดขาด หรือจริงจังไปเลย อย่าทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ มิฉะนั้น ผลร้ายจะเกิดขึ้นภายหลังได้ เหมือนกับการที่จะตี หรือ กำจัดงูพิษ เราก็ต้องตีให้ตาย หรือ ให้หลังหักไปเลย ไม่ฉะนั้นมันจะย้อนกลับมาทำร้ายเราทีหลังได้
  • เต่าใหญ่ไข่กลบ  ความหมาย การที่จะทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามจะกลบเกลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้ ก็เหมือนกับการเอาเต่ามาเป็นคำเปรียบเทียบ ก็เพราะธรรมชาติของเต่าใหญ่  เช่น เต่าตนุเวลาจะวางไข่ ก็คลานขึ้นมาบนหาดทราย แล้วคุ้ยทรายให้เป็นหลุมเพื่อไข่ พอไข่เสร็จ ก็คุ้ยทรายกลบไข่เสีย เพื่อซ้อนไข่ตนไม่ให้ศัตรูมาทำร้าย หรือ ทำลายไข่ของตน
  • ตีตนไปก่อนไข้ ความหมาย จะมีอะไรที่ไม่ดี หรือ ข่าวร้ายเกิดขึ้นกับตัว โดยที่ยังไม่เป็นที่แน่นอน ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงก็เป็นได้ แต่ก็ดันชิงแสดงอาการ ทุกข์ร้อน หรือ หวาดกลัว หรือ วิตกกังวลไปเสียก่อน แล้วทำให้หมดกำลังใจ หรือ กำลังความคิดที่คิดป้องกันไว้ก่อน  เรียกกันว่า  ไข้ยังไม่ทันมาถึงก็ดันตีตนไปก่อนไข้ หรือ กระวนกระวายไปเอง
  • ตัวตายดีกว่าชาติตาย ความหมาย เป็นสำนวน  ปลุกใจที่สืบต่อกันมาหลาย ชั่วอายุคนแล้ว มีความหมาย ไปในทางให้คนเรารักประเทศชาติบ้านเมืองของตนเอง เมื่อยามมีศัตรูมารุกรานบ้าเมือง ก็พร้อมที่จะร่วมกันพลีชีวิต ต่อสู้เพื่อ ป้องกันประเทศชาติบ้านเมืองเพื่อไม่ให้ผู้ใดมาทำลายประเทศของตนเอง
  • ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ความหมาย การกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือ ได้สมดุลกัน หรือ ใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไร เช่น ลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ ซึ่ง ต้องใช้เงินมาก ๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่า ๆ ก็เหมือนกับการตำน้ำพริกเพียงครกเดียว แล้วนำไปละลายในแม่น้ำบ่อใหญ่ๆนานๆไปก็สูญเปล่า
  • ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา ความหมาย เป็นเชิงเตือนสติคนที่ไม่รู้จัก ที่ต่ำ ที่สูง หรือ คนที่ทะเยอทะยานทำตนเสมอกับคนที่สูงกว่า  ให้รู้จักยั้งคิดว่าฐานะของตนเอง ว่า เป็นอย่างไรเสียก่อน จึงค่อยคิดจะไปเทียบเทียมหน้าคนอื่น  ความหมาย ทำนองเดียวกับที่ว่า  ส่องกระจกดูเงาของตัวเองเสียก่อนที่จะไปว่าคนอื่นเขา
  • ตีงูให้กากิน  ความหมาย การลงทุน หรือลงแรง ทำอะไรขึ้นอย่างโดยไม่ได้เกิดประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  เปรียบดั่ง ตีงูซึ่งต้องใช้ความกล้า หรือ กำลังเล่นงานงู แต่ครั้นพองูตายแล้วก็เอามาทำประโยชน์อะไรไม่ได้  ต้องทิ้งให้มีกลิ่นเหม็นหรือไม่ก็นำไปทิ้งให้กามาจิกกินเนื้อของงูกาเหล่านี้มักจะบินตามกันมาเป็นฝูงใหญ่ๆ
  • เตี้ยอุ้มค่อม ความหมาย คนที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ยังอุตส่าห์ไปช่วยคน ที่ยากจนกว่าตนเข้าอีกเท่ากับ ” เตี้ยอุ้มค่อม ” คือ ยิ่งทำให้ตัวเองแย่ลงไปอีก  หรือ จะเปรียบได้อีกทางหนึ่ง ว่า คนที่ทำงาน หรือ ทำอะไรที่เป็นภาระใหญ่ๆอยู่มากมาจนเกินสติกำลังของตนเองแต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าตนเองจะทำไปได้ตลอดชีวิตของตนหรือเปล่า

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ถ.ถุง

  • ถวายหัว หมายถึง ความจงรักภักดีต่อคนที่รักและเคารพจนเอาชีวิตเป็นประกัน,ยอมสู้ยอมตายถวายชีวิตให้ ตัวอย่าง ทหารรักชาติยิ่งชีพยอมสละชีวิตเพื่อชาติ
  • ถอดเขี้ยวถอดเล็บ หมายถึง ละความเก่งกาจ,ความดุร้าย,เลิกแสดงอำนาจ เช่น วันนี้แม่ไม่ดุไม่ด่าสงสัยจะถอดเขี้ยวถอดเล็บแล้ว
  • ถอนขนห่านหมายถึง การรีดภาษี,ขูดรีดประชาชน ความเป็นมาคือ สมัยก่อนทางฝั่งยุโรปขนห่านเป็นของมีค่าใช้ทำที่นอน หมอน รวมทั้งเครื่องบรรณาการ ห่านเวลาจะวางไข่จะใช้ขนของตัวเองมาทำรังชาวบ้านจะมาเก็บเอาขนของห่านไปขาย เมื่อความต้องการมีมากขนตามรังห่านมีไม่พอ ก็ต้องจับห่านมาถอนเอาเลยสร้างความเจ็บปวดให้กับห่าน
  • ถอนหงอกหมายถึงการที่ผู้ใหญ่โดนเด็กหรือผู้น้อยว่ากล่าวทำให้เสียหาย ไม่มีความเคารพนับถือผู้ใหญ่เช่น ผู้ใหญ่สั่งสอนเด็กว่าห้ามโกหกนะแต่วันหนึ่งผู้ใหญ่กลับโกหกเด็กเสียเองเมื่อเด็กรู้เข้าจึงว่ากล่าวผู้ใหญ่โดยไม่เกรงใจ
  • ถีบหัวส่งหมายถึง ขับไล่,เสือกไส,ไล่ไปให้พ้น,ไม่ไยดีอีกต่อไปเช่น เมื่อหมดประโยชน์ก็ถีบหัวส่ง
  • ถึงพริกถึงขิงหมายถึงเต็มที่, เผ็ดร้อนถึงใจเช่น การถกเถียงการโต้วาทีนี้ถึงพริกถึงขิง
  • ถึงลูกถึงคนหมายถึง ติดตามอย่างจริงจังใกล้ชิด เช่น นักข่าวติดตามการทำข่าวอย่างถึงลูกถึงคน, พิธีกรสัมภาษณ์แขกรับเชิญอย่างถึงลูกถึงคน
  • ถูกเส้น หมายถึง เข้ากันได้, ชอบพอกัน, ถูกอกถูกใจ เช่น เธอคนนี้พูดคุยกับฉันได้ถูกเส้นมาก
  • ถ่มน้ำลายรดฟ้าหมายถึงดูหมิ่นหรือคิดร้ายกับผู้ที่เป็นที่เคารพของคนทั่วไปหรือมีฐานะสูงกว่าตน อนาคตอันใกล้จะเกิดผลร้ายกับตนเช่น ชอบแขวะชอบพูดเสียดสีกับคนที่ชอบทำความดีว่าเป็นการสร้างภาพ ทั้งๆที่ตัวเองไม่ทำอะไรเลยดีแต่พูดแขวะคนอื่นจงทำให้ไม่มีคนคบไม่มีคนนับถือ
  • ถ่านไฟเก่าหมายถึง ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น
  • เถรตรงหมายถึง ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
  • เถียงคำไม่ตกฟากหมายถึง ใช้กับเด็กที่ชอบเถียงผู้ใหญ่เถียงโดยไม่หยุดเถียงโดยไม่มีเหตุผล ไม่ว่าผู้ใหญ่จะพูดหรือสั่งสอนอย่างไรก็จะมีคำพูดตอบโต้เสมอ
  • ถอนรากถอนโคนหมายถึง ทำลายให้ถึงตอ ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม ถอนต้นก่นราก เช่น ในละครมีการฆ่าหรือกำจัดฝ่ายศัตรูให้หมดสิ้นซากถอนรากถอนโคนหรือการใช้วิธีถอนกำจัดวัชพืชแทนการตัดถ้าแค่ตัดวัชพืชก็จะงอกขึ้นมาใหม่ได้เร็วขึ้นแต่ถ้าใช้การถอน วัชพืชก็จะไม่ขึ้นหรือขึ้นยากกว่าเดิม
  • ถ่มน้ำลายแล้วกลับกลืนกินหมายถึง เป็นทำนองกลับคำพูดของตนเองที่ได้พูดไว้เช่น เมื่อไม่พอใจเพื่อนอีกคนหนึ่งก็ลั่นวาจาว่าจะเลิกคบไม่เกี่ยวข้องกันอีก แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็กลับไปคบเพื่อนคนนี้อีกเช่นเคย
  • ถลำร่องชักง่าย ถลำกายชักยากหมายถึง ถ้าพลาดเดินตกลงไปในร่องพื้นยังพอจะก้าวขาออกมาจากพื้นร่องได้แต่ถ้าถลำตกลงไปทั้งตัวก็ย่อมเอาตัวออกมาได้ยากสำนวนสุภาษิตนี้เปรียบเทียบกับความรัก เมื่อได้รักปลักใจกับใครไปแล้วก็มักจะตัดใจยาก
  • ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็นแปลตรงตัวหมายถึงที่ว่าตาข่ายถี่แล้วแต่ช้างยังลอดได้แสดงว่าไม่ถี่จริง(ถี่ถ้วน)ถ้าใช้กับคนคือคนที่ทำอะไรดูเป็นว่ารอบคบถี่ถ้วนดี แต่ความจริงไม่รอบคอบปล่อยให้มีช่องว่างเกิดขึ้นเช่น หอพักนี้ตรวจสอบคนเข้าออกอย่างถี่ถ้วนแต่พนักงานส่งจดหมาย คนส่งข้าว กาแฟ ยังเดินเข้าออกได้อย่างสบายๆ
  • ถ่อไม่ถึงน้ำ น้ำไม่ถึงถ่อหมายถึง การพูดหรือการกระทำอะไรที่ไม่ปฏิบัติให้ถึงแก่นสำคัญของเรื่อง หรือทำไปครึ่งๆกลางๆหรือขาดตกบกพร่องในการปฏิบัติ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ท.ทหาร

  • ทนายหน้าหอ หมายถึง หัวหน้าคนรับใช้หรือคนรับใช้ที่ชอบออกหน้ากับเจ้านายหรืออกหน้าแทน เช่น บริษัทแห่งหนึ่งได้ถูกชาวบ้านมาล้อมประท้วงบริษัทเนื่องจากเข้าผิดว่าจะมีการจัดตั้งโรงงานสารเคมีไว้ในที่ชุมชน แต่ผู้บริหารไม่ออกมาเจรจากับชาวบ้านแต่สงให้ถูกน้อง(ทนายหอหน้า)ออกมารับหน้าเจรจากับชาวบ้านแทน
  • ทองแผ่นเดียวกัน หมายถึง การเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงานทำให้ญาติและครอบครัวทางฝั่งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวมีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกัน
  • ทองไม่รู้ร้อน หมายถึง การกระทำที่เฉยเมย ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือรู้สึกอย่างไร เช่น เจ้าของบ้านหลังหนึ่งปลูกต้นไม้แล้วต้นไม้นั้นยื่นออกไปที่รั่วบ้านของคนอื่นทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่เจ้าของบ้านกลับไม่ดูแลและจัดการกับต้นไม้ของตัวเองเลยทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน
  • ทั้งขึ้นทั้งล่อง หมายถึง มีความเกี่ยวข้องด้วยอย่างไรก็โดน ไม่สามารถหนีพ้นไปได้ เช่น คุณนี้นะทำอย่างนี้ก็โดนว่าทำอย่างโน้นก็โดนว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ผิดโดนทั้งขึ้นทั้งล่องจริงๆ
  • ทำได้อย่างเป็ด หมายถึง ทำได้ทุกอย่างแต่ไม่เป็นเลิศสักอย่าง เพราะเป็ดทำได้ทุกอย่างแต่ไม่เก่งสักอย่าง คือเป็นร้องได้แต่ไม่เพราะเหมือนไก่ เป็ดบินได้แต่ไม่สูงเท่านก เป็ดว่ายน้ำได้แต่ก็ไม่เก่งเท่าปลา
  • ทิ้งทวน หมายถึง ทำอย่างไว้ฝีมือ, ทำจนสุดความสามารถ, ไม่ทำอีกต่อไป ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป ฉวยโอกาสทำเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอำนาจ
  • ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย หมายถึง การทิ้งทวนใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เป็นครั้งสุดท้าย งัดไม้เด็ดออกมาใช้ทีหลัง เช่น ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีนักเงินเก็บก็หมด เขาก็เลยตัดสินขายนาฬิกาเรือนที่รักที่สุดเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายประคับประคองตัวเองให้อยู่รอดได้,
  • ทีใครทีมัน หมายถึง โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้นหรือใช้กับการแข่งขัน เมื่อครั้งก่อนนายเอเป็นผู้ชนะ แต่ครั้งนี้นายบีเป็นฝ่ายชนะโอกาสจึงเป็นทีใครทีมัน
  • ที่เท่าแมวดิ้นตาย หมายถึง พื้นที่หรือที่ดินเล็กน้อย เช่น ที่ดินแค่นี้ที่เท่าแมวดิ้นตายแต่จะเอาไปทำเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ทเอาไว้ปลูกบ้านหลังเล็กอยู่ไม่ดีกว่าหรอ
  • ทุบหม้อข้าว หมายถึง ตัดอาชีพ, ทำลายหนทางทำมาหากินของตัวเอง เช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งนำสินค้าหมดอายุเข้ามาขายในร้าน ที่ให้ลูกค้าที่มาซื้อของเจอสินค้าที่หมดอายุและไม่อยากจะซื้อสินค้าที่ร้านนี้อีกที่ร้านค้าทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการทุบหม้อข่าวตัวเอง
  • ท่าดีทีเหลว หมายถึง มีท่าทางดีแต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง เช่น นาย ก.  พูดว่าอยากทำนู่นอยากทำนี่แต่ไม่เคยลงมือทำอะไรสักอย่าง
  • ท้องยุ้งพุงกระสอบ หมายถึง คนกินจุที่กินจุผิดปรกติ กินได้มากท้องแปลเหมือนยุ้งข้าวเหมือนกระสอบจุอาหารได้เยอะ
  • ท้องแห้ง หมายถึง ฝืดเคือง, อด ถ้าเปรียบเทียบกับเรื่องเงินทองก็เหมือนว่าไม่มีเงินพอที่จะใช้จ่ายอดมื้อกินมื้อจนท้องแห้ง
  • เทครัว หมายถึง ยกครอบครัวไป, ชายที่เอาแม่ ลูก พี่ และน้องเป็นภรรยาหมดทั้งบ้าน
  • เทน้ำเทท่า หมายถึง คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคำ ขาย เป็นขายดีอย่างเทน้ำเทท่า เช่น ยายให้หลานเอาขนมไปขายแต่หลานขายดีและหมดเร็วยายจึงพูดกับหลานว่าขายดีจังเหมือนเอาไปเทลงน้ำลงท่าเลย
  • เทือกเถาเหล่ากอ หมายถึง เชื้อสายวงศ์ตระกูลที่สืบเนื่องต่อกันมา เช่น เธอเป็นลูกเต้าเหล่าใครเทือกเถาเหล่ากอเธอมาจากที่ไหน
  • แทงใจดำ หมายถึง พูดตรงกับความในใจของผู้ฟังและคำพูดนั้นเป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเจ็บได้
  • แทรกแผ่นดิน หมายถึง หลีกหนีไปให้พ้นไม่อยากให้ใครพบหน้าเพราะอับอาย เช่น เจ้าหนี้มาทวงหนี้กับเจ้าของบ้านหลังนี้ เขาหนีหัวซุกหัวซุนแทบแทรกแผ่นดินหนีเลยหละ
  • ทางออก หมายถึง ทางรอด,วิธีแก้ปัญหา เช่น พรุ่งนี้ส่งงานไม่ทันแน่เลยอะฉันจะหาทางออกยังไงหละทีนี้
  • ทํานาบนหลังคน หมายถึง คนที่เห็นแก่ได้หาผลประโยชน์ใส่ตนเอง โดยใช้วิธีเบียดเบียนขูดรีดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
  • ทําบุญเอาหน้า หมายถึง ทําบุญอวดผู้อื่นไม่ใช่ทําด้วยใจ
  • ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป หมายถึง การเข้าไปช่วยเหลือคนอื่นแต่กลับได้โทษตอบแทน เช่น จะให้คำปรึกษาให้กับผู้ใดผู้หนึ่ง แต่โดนคนผู้นั้นด่ากับมาว่ายุ่ง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด น.หนู

  • น้ำกลิ้งบนใบบอน หมายถึง เปรียบเหมือนใจคนที่ไม่มีความแน่นอน เชื่อใจไม่ได้เอาแน่เอานอนกับคนๆไม่ได้
  • น้ำขึ้นให้รีบตก หมายถึง เมื่อโอกาสดีๆมาถึงก็ควรจะรีบคว้าเอาไว้อย่าปล่อยโอกาสให้หลุดมือไป เปรียบเสมือนเมื่อสมัยโบราณต้องตักน้ำใช้เองเมื่อน้ำขึ้นให้รีบตัก อย่าปล่อยให้น้ำแห้งไปโดนไม่ได้ตักเก็บไว้เพราะจะไม่มีน้ำใช้
  • น้ำเชี่ยวขวางเรือ หมายถึง การกระทำที่ขัดกับสถานการณ์บางอย่างที่กำลังรุนแรง หรือการเข้าไปคุยกับคนที่กำลังโมโหร้ายและอาจจะทำให้คนที่กำลังเข้าไปในเหตุการณ์รุนแรงนั้นได้รับอันตรายได้ เหมือนกับน้ำที่กำลังเชี่ยวและไหลอย่างรุนแรงแต่พายเรือออกไปก็จะทำให้เรือพลิกคว่ำได้
  • น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา หมายถึง โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้นเมื่อฝ่ายนี้เคยเป็นผู้ชนะหรือผู้ได้เปรียบ อีกฝ่ายหนึ่งก็ย่อมชนะและได้เปรียบด้วยเช่นกัน
  • น้ำตาลใกล้มด หมายถึง ผู้หญิงกับผู้ชายที่อยู่ใกล้กันผู้หญิงเปรียบเหมือนน้ำตาล ผู้ชายเปรียบเหมือนมด เมื่อผู้หญิงก็ใกล้ผู้ชายก็มักจะถูกผู้ชายแซวหรือคุมคามเหมือนมดกับน้ำตาล
  • น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง หมายถึง คนที่พูดมากแต่จับประเด็นและเนื้อหาสาระไม่ได้เลย การพูดมากก็เหมือนกับน้ำที่ท่วมทุ่ง เนื้อหาสาระที่มีน้อยนิดก็เหมือนกับผักบุ้งโหรงเหรง(เบาบาง,น้อย)
  • น้ำผึ้งหยดเดียว หมายถึง การทำให้เรื่องเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวมีอยู่ว่ามีคนถือรังผึ้งเดินไปตามถนนและน้ำผึ้งก็หยดไปตามถนนทำให้มดมากินน้ำผึ้ง เมื่อจิ้งจกเห็นมดจิ้งจกก็มากินมด เมื่อแมวเห็นจิ้งจกแมวก็จะเข้ามากินจิ้งจก เมื่อมีหมาตัวหนึ่งเดินมาเห็นแมวหมาก็ไล่แมว และเจ้าของแมวมาเจอแมวตัวเองโดนหมาไล่ก็ใช้ไม้ฟาดหมา เมื่อเจ้าของหมาเมื่อเจอหมาตัวเองกำลังโดนฟาด เจ้าของหมาและเจ้าของแมวเลยทะเลาะกันจนกลายเป็นเรื่องใหญ่
  • น้ำนิ่งไหลลึก หมายถึง คนที่มีบุคลิกเงียบขรึมสงบเสงี่ยมพูดน้อย แต่ภายในเป็นคนที่ฉลาดหลักแหลมมาก หรือคนที่ดูเป็นคนเรียบร้อยไม่มีพิษไม่มีภัยกับใครแต่ข้างในแล้วอาจเป็นที่มีความคิดร้ายกาจ
  • น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า หมายถึง การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เปรียบเสมือนน้ำกับเรือที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และเสือก็ต้องพึ่งพาป่าใช้เป็นแหล่งหาอาหารและที่อยู่อาศัย
  • น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย หมายถึง น้ำร้อนเปรียบเหมือนคนที่พูดจาไม่ค่อยดีปากร้ายแต่ข้างในลึกแล้วก็เป็นคนตรงๆไม่มีพิษไม่มีภัยกับใครแค่พูดจาโผงผางเท่านั้นเอง น้ำเย็นเปรียบเหมือนคนที่ข้างนอกปากหวานพูดจาดีแต่ข้างในลึกแล้วมักโกหกหลอกลวงทำให้คนที่หลงเชื่อคำพูดหวานๆเดือนร้อน
  • น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก หมายถึง จิตใจของคนยากที่จะรู้ว่าข้างในคิดอย่างไรและไม่สามารถวัดได้ว่าจิตใจของคนผู้นั้นเป็นคนดีหรือไม่ดี และน้ำลึกยังสามารถวัดได้ว่าวัดน้ำมีความลึกเท่าไห
  • น้ำลดต่อผุด หมายถึง คนที่ทำไม่ดีและกลบเกลื่อนไว้ไม่มีใครเห็น แต่เมื่อถึงเวลาทีเวรกรรมตามทันก็จะทำให้คนเห็นสิ่งไม่ดีที่ได้ทำไว้เหมือนต่อไม้ที่ผุดขึ้นเมื่อน้ำลด
  • นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น หมายถึง คนที่ไม่อยากรับผิดชอบหรือบอกว่าไม่รู้ไม่เห็นกับเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นบ่ายเบี่ยงปัดความรับชอบ เช่น ก. เป็นคนทำแก้วแตกโดยไม่มีใครเห็น เมื่อ ข. มาเจอแก้วที่แตกอยู่จึงถาม ก. ว่าใครทำแก้วแตก ก. จึงตอบ ข. ว่าฉันไม่รู้ฉันหลับอยู่
  • นกยูงมีแววที่หาง หมายถึง คนที่มีฐานะดีหรือคนที่มีสกุลรุนชาติดี ก็จะมีอะไรเป็นที่สังเกตให้เห็นอยู่บ้างเช่น กิริยามารยา ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องประดับ การกระทำ เหมือนนกยุงที่สวยงามเพราะหางของมัน
  • นับสิบไม่ถ้วน หมายถึง คนที่ขาดความรู้ความสามารถหรือคนขี้หลงขี้ลืม นับไม่ถึงสิบหรือนับตกหล่นนับไม่ครบนับวนไปวนมา
  • เนื้อเข้าปากเสือ หมายถึง เมื่อต้องตกอยู่ในอันตรายก็จะรอดยาก หรือคนที่ถูกหลอกให้เชื่อแล้วก็ถอดตัวช้าไป เหมือนเนื้อที่เข้าไปอยู่ในปากเสือแล้วเสือก็ไม่มีทางที่คายอกมา
  • เนื้อเต่าย้ำเต่า หมายถึง สิ่งที่มีในตัวมันเองและใช้สิ่งที่มีทำประโยชน์ต่อไป เช่น ค้าขายได้เงินก็นำเงินไปลงทุนต่อ
  • เนื้อหมูไปใส่เนื้อช้าง หมายถึง การนำเอาทรัพย์สินหรือของต่างๆจากคนที่มีน้อยไปให้คนที่มีมากกว่า หรือการเอาเงินจากคนที่มีฐานะไม่ดีเอาไปให้คนที่มีฐานะดีกว่า
  • เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ หมายถึง คนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนั้นแต่ต้องมารับผิดชอบ เช่น ก. เอางานของตัวเองไปให้ ข. ช่วยทำและต้องทำให้เสร็จ ซึ่ง ข. ไม่ได้ประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียจากงานของ ก. เลยก็มารับภาระ
  • นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น หมายถึง กลุ่มคนก็ต้องมีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไป คนในไม่ดีก็ต้องคัดออกจากกลุ่มเพื่อไม่ให้สร้างความเดือนร้อนให้กับกลุ่ม เปรียบเหมือนนิ้วที่เป็นแผลติดเชื้อจนรักษาไม่ได้ก็ต้องตัดทิ้งเพื่อไม่ให้เชื้อโรคลามไปส่วนอื่น
  • นิ้วด้วนได้แหวน หมายถึง คนที่ได้รับสิ่งได้สิ่งหนึ่งมาแล้วไม่เกิดประโยชน์ขึ้นกับตน เหมือนคนนิ้วด้วนได้แหวนเมื่อนิ้วด้วนก็ใส่แหวนไม่ได้ หรือคนหัวล้านได้หวีเมื่อไม่มีผมก็หวีไม่ได้
  • นกน้อยทำรังแต่พอตัว หมายถึง จะทำให้ทำแต่พอดีตามฐานะตัวเองไม่ควรทำอะไรเกินตัวหรือเกินฐานะของตัวเอง เช่น การใช้จ่ายต่างๆต้องใช้ตามที่ตัวเองมีอย่าใช้จ่ายเกินตัวจนเป็นหนี้เป็นสินง
  • น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก หมายถึง อย่าแสดงอาการโกรธเคืองหรืออาการไม่พอใจออกมากอย่างไม่มีเหตุผลหรือไม่ถูกกาลเทศะควรจะยิ้มสู้เข้าไว้
  • น้ำซึมบ่อทราย หมายถึง มีรายได้หรือผลประโยชน์เข้ามาที่ละน้อยแต่มีตลอดแต่ไม่ขาดมือ เหมือนน้ำที่ซึมขึ้นมาจากบ่อทรายเวลาขุด เช่น ถ้าคิดจะขายที่ดินก็ปล่อยให้เช่นดีกว่าเพราะการขายจะได้เงินก้อนใหญ่ก้อนเดียวใช่ไปหมด แต่ถ้าปล่อยเช่าก็จะได้เงินค่าเช่าตลอด
  • น้ำตาเช็ดหัวเข่า หมายถึง คนที่ผิดหวังเสียอย่างหนักจนต้องร้องไห้นั่งกอดเข่า
  • น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ หมายถึง การทำสิ่งต่างๆหรือการแข่งขันคนที่มีกำลังน้อยกว่าก็ย่อมแพ้คนที่มีกำลังมากกว่า เช่น การแข่งขันชักกะเย่อฝ่ายีมีพละกำลังน้อยกว่าก็ต้อแพ้ฝ่ายที่มีพละกำลังมากกว่า
  • น้ำท่วมปาก หมายถึง การรับรู้เรื่องราวแต่ไม่สามารถพูดออกมาได้เพราะกลัวว่าจะมีภัยกับตัวเอง เช่น ก. เห็นหน้าคนร้ายที่เข้ามาขโมยเงินในบ้าน ข. แต่ไม่สามารถบอกใครได้ เพราะกลัวโดนขโมยทำร้าย

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด บ.ใบไม้

  • บุกป่าฝ่าดง หมายถึง การต่อสู้กับอุปสรรคและอันตรายต่างๆอย่างไม่เกรงกลัว เหมือนกับการทำงานที่ได้รับและฝ่าฟันกับอุปสรรคต่างๆให้ประสบความสำเร็จ
  • บุญหนักศักดิ์ใหญ่ หมายถึง คนที่มีบุญอำนาจวาสนาและบารมี มีฐานะดีมีชื่อเสียงเกียรติยศมีคนนับหน้าถือตาเป็นที่เคารพ
  • เบี้ยหัวแตก หมายถึง เงินที่ไม่ได้เป็นเงินก้อนได้มาทีละเล็กทีละน้อย ใช้จ่ายแปบๆก็หมดไปไม่พอใช้ เช่น ลูกหนี้ของฉันไม่ยอมจ่ายเงินคืนเป็นก้อนแต่ให้มาทีละเล็กทีละน้อย
  • บนบานศาลกล่าว หมายถึง การบอกกล่าวให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้เรื่องที่ตนเองปรารถนาประสบความสำเร็จ การบนบานมีความหมายคล้ายๆกับการติดสินบน เช่น นักศึกษาจบใหม่บนบานสิ่งศักดิ์ให้ช่วยให้มีงานทำงาน เมื่อมีงานทำแล้วจะถวายหัวหมูให้
  • เบาไม้เบามือ หมายถึง การทำอะไรด้วยความระมัดระวังทำด้วยความประณีต เช่น หลานช่วยยายห่อข้าวต้มมัดแต่ด้วยความที่หลานยังไม่มีความชำนาญจึงทำให้ใบตองที่ใช้ห่อข้าวขาด ยายจึงบอกหลานว่าเบาไม้เบามือหน่อยค่อยทำพังใบตองขาดเสียหายหมด
  • บอกเล่าเก้าสิบ หมายถึง บอกเล่าเรื่องราวต่างที่ได้พบเจอให้คนอื่นๆรับรู้ เช่น วันนี้ฉันมีเครื่องสำอางดีมาบอกต่อฉันใช้แล้วชอบมาก
  • บอกหนังสือสังฆราช หมายถึง สอนสิ่งที่คนๆนั้นรู้ดีอยู่แล้วคล้ายกับสำนวนที่ว่าสอนจระเข้ว่ายน้ำ
  • บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น หมายถึง การรู้จักรักษาถนอมน้ำใจซึ่งกันและกัน บัวกับน้ำก็เปรียบเสมือนใจรักษาน้ำใจไม่ให้ชอกช้ำขุ่นเคืองซึ่งกันและกัน
  • บ่างช่างยุ หมายถึง บุคคลที่มีความขี้อิจฉาอยู่ในตัวและยุยงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดและผิดใจกัน
  • บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน หมายถึง สถานที่ที่เคยอยู่มาก่อนหรือเป็นคำพูดที่ใช้เมื่อคิดถึงบ้านตอนจากมาไกล อู่หมายถึงแปล
  • บ้านแตกสาแหรกขาด หมายถึง ครอบครัวหรือบ้านเมืองที่มีความวุ่นวายถึงกับทะเลาะกันอย่างรุนแรงเมื่อร้ายแรงขึ้นก็ถึงขั้นแตกแยกกัน
  • บ้านนอกคอกนา หมายถึง เปรียบถึงคนสมัยก่อนที่บ้านอยู่นอกเมืองนานครั้งถึงจะเข้าเมือง เมื่อได้เข้ามาในเมืองแล้วก็จะรู้สึกแปลกตาตื่นเต้นกับสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็น
  • บานปลาย หมายถึง เหตุการณ์หนึ่งที่มีความรุนแรงหรือใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเกินขอบเขตที่กำหนดไว้ เช่น การประชุมครั้งนี้หาข้อสรุปไม่ได้ต่างฝ่ายต่างมีความคิดเห็นขัดแย่งจนเหตุการณ์เริ่มบานปลายขึ้นเรื่อยๆ
  • บ้านเมืองมีขื่อมีแป หมายถึง บ้านเมืองมีบทลงโทษมีกฎหมายที่ใช้ลงโทษคนทำผิด ขื่อ คือเครื่องมือที่ใช้จงจำนักโทษ เช่น อย่าที่อะไรที่ผิดกฎหมายหรือรุนแรงนะเพราะบ้านเมืองทีขื่อมีแป
  • บ้าหอบฟาง หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ชอบหอบหิ้วขนของพะรุงพะรัง เห็นอะไรชอบอะไรก็ขนกับมาหมด
  • บ้าห้าร้อยจำพวก หมายถึง คนที่มีความบ้าหลายประเภท
  • บุญทำกรรมแต่ง หมายถึง เรื่องการทำบุญหรือกรรมไว้ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งส่งผลให้ความเป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นไปบุญหรือกรรมที่ทำไว้ เช่น คนที่มีรูปร่างหน้าที่ผิดแปลกจากคนทั่วไปบางคนก็เชื่อว่าเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน หรือคนที่มีฐานะร่ำรวยวาสนาดีบางคนก็ว่าเป็นเพราะบุญที่ทำไว้ในชาติก่อน
  • บุญมาวาสนาส่ง หมายถึง คนที่มีความโชคดีหรือทำอะไรได้แต่สิ่งดีๆ คนก็มักจะพูดว่าบุญมาวาสนาส่ง
  • เบี้ยต่อไส้ หมายถึง เงินที่มีพอประทังชีวิตพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไปวันๆ
  • เบี้ยน้อยหอยน้อย หมายถึง การมีเงินน้อยมีรายได้
  • เบี้ยบ้ายรายทาง หมายถึง การใช้จ่ายเงินไปเรื่อยๆเป็นระยะๆจนกว่าสิ่งที่ทำนั้นจะเสร็จสิ้น เช่น การลงทุนทำธุรกิจหรือการก่อสร้างสิ่งต่างๆ จะไม่ได้จ่ายเงินเป็นก้อนจบครั้งเดียวจะต้องใช้จ่ายหลายครั้ง
  • แบกหน้า หมายถึง การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการจำใจและไม่เต็มใจ เช่น ก. ทะเลาะกับ ข. และ ก. เป็นฝ่ายผิดคุณครูเลยบอกให้ ก. ไปขอโทษ ข. ก.จึงต้องแบกหน้าไปขอโทษโดยไม่เต็มใจ
  • บอกศาลา หมายถึง การตัดขาดหรือการตัดความรับผิดชอบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การตัดญาติพี่น้อง การตัดขากการเป็นเพื่อน
  • แบไต๋ หมายถึง บอกความลับเทคนิคหรือเรื่องราวต่างๆให้ผู้อื่นรับรู้
  • บวชก่อนเบียด หมายถึง คำว่า เบียด หมายถึงการแต่งงานมีภรรยา ขนมธรรมเนียมของคนไทยส่วนใหญ่ผู้ชายจะต้องบวชก่อนแต่งงาน
  • เบี้ยล่าง เบี้ยบน หมายถึง เบี้ยบนคนผู้ที่เป็นฝ่ายชนะหรือได้เปรียบ เบี้ยบนหมายถึงคนที่เป็นผู้แพ้หรือเสียเปรียบ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ป.ปลา

  • ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับเด็ก บางคนชอบเถียงชอบต่อปากต่อคำกับผู้ใหญ่ก็มักจะโดนผู้ใหญ่ว่าปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม
  • ปากตำแย หมายถึง ปากอยู่ไม่สุขคันปากชอบพูดเรื่องคนนั้นทีคนนี้ทีพูดมากขี้ฟ้อง
  • ปากตลาด หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนปากจัดพูดมากเถียงเก่ง
  • ไปอย่างน้ำขุ่น ๆ หมายถึง พูดหลบๆเลี่ยงๆกับสิ่งที่ไม่อยากพูดอยากตอบ สำนวนนี้มีความหมายคล้ายกับ แถจนสีข้างถลอก
  • ปากเปียกปากแฉะ หมายถึง การพูดการบ่นการสอนบ่อยๆพูดคำเดียวซ้ำๆ
  • ปากปราศรัยใจเชือดคอ หมายถึง ปากพูดจาดีตัวตัวเป็นคนดีแต่ข้างในเป็นคนที่มีความคิดร้าย
  • ปัญญาแค่หางอึ่ง หมายถึง มีความรู้มีปัญญาน้อยนิดเหมือนหางอึ่งที่มีอันนิดเดียว
  • ปล่อยนกปล่อยกา หมายถึง ปล่อยศัตรูหรือคนที่กระทำความผิดให้พ้นจากความผิดที่ทำไว้ ไม่ถือสาคิดเสียว่าปล่อยนกปล่อยกา
  • โปรดสัตว์ได้บาป หมายถึง การช่วยคนอื่นแต่ตัวเองกับได้รับโทษเป็นการตอบแทน สำนวนนี้มีความหมายเหมือนกันกับทำคุณบูชาโทษโปรดสัตว์ได้บาป
  • ปากคนยาวกว่าปากกา หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับการพูดเรื่องราวต่อกันเป็นทอด แต่ความจริงและปากคนก็ยื่นน้อยกว่าปากกาแต่ใช้ความว่าปากคนยาวกว่าปากกาเพราะ ปากใช้แพร่กระจายข่าวต่างได้เยอะและรวดเร็วกว่าปากกา
  • ปิ้งปลาประชดแมว หมายถึง การประชดประชันอีกฝ่ายหนึ่งแต่ผู้ถูกประชดไม่ได้รู้สึกอะไร แต่กลับได้ประโยชน์จากการประชดนั้น และผู้ประชดอาจกลายเป็นผู้เสียผลประโยชน์เองก็ได้
  • ปิดควันไฟไม่มิด หมายถึง การปกปิดเรื่องราวที่ไม่ดีของตัวเองแต่ปิดยังไงก็ปิดไม่มิดยังไงเรื่องราวก็อื้อฉาวอยู่ดี เหมือนการปิดควันไฟไว้แต่พยายามปิดยังไงควันก็ลอยออกไปตามลมอยู่ดี
  • ปิดทองหลังพระ หมายถึง การทำความดีแต่ไม่เปิดเผยไม่ผู้อื่นรับรู้ไม่มีคนเห็น เช่น กอบริจาคเงินให้กับทางวัดเพื่อสร้างโบสถ์เป็นจำนวนมากแต่ไม่เปิดเผยให้คนอื่นรับรู้ว่าตัวเองบริจาค
  • ปั้นน้ำเป็นตัว หมายถึง มักใช้เปรียบเทียบกับคนที่มีนิสัยชอบโกหกพูดเรื่องที่ไม่เป็นความจริง พูดเกินกว่าเหตุชอบปั้นเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริงชอบพูดเรื่องเหลวไหล
  • ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า หมายถึง การจะทำการใดๆต้องทำให้เหมาะสมกับฐานะและความสามารถของตัวเองเท่าที่จะทำได้ สำนวนนี้มีความคล้ายๆกับนกน้อยทำรังแต่พอตัว
  • ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย หมายถึง การทำอะไรผิดพลาดโดยไม่คิดให้รอบครอบวางแผนให้ดีตั้งแต่แรกจนทำให้เกิดผลเสียและกลับมาเสียใจทีหลัง
  • ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน หมายถึง การทำอะไรก็ต้องทำตามใจถูกใจกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ เช่นการสร้างบ้านก็ต้องสร้างตามใจเจ้าของบ้านผู้อยู่อาศัยถึงแม้ว่าจะมีบุคคลอื่นบอกว่าทรงนี้สวยทรงนี้ดีหรือไม่ดี หรือเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตคู่คนที่ต้องใช้ชีวิตคู่กันก็มีสิทธิที่จะเลือกคนรักของตัวเองพ่อแม่จะเลือกให้ไม่ได้
  • ปลูกเรือนคล่อมตอ หมายถึง การกระทำซึ่งล่วงล้ำก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น ทำให้เกิดเรื่องทะเลาะบาดหมางกันได้
  • ปล่อยปลาไหลลงตม หมายถึง มีความหมายคล้ายๆกับปล่อยเสือเข้าปลา สำนวนนี้ใช่เปรียบกับผู้ชายที่เจ้าชู้เมื่อปล่อยให้ไปเที่ยวในสถานที่อโคจร ก็เหมือนกับปลาไหลคืนสู่ถิ่นเพราะผู้ชายเจ้าชู้มีนิสัยลื่นไหลไม่อยู่กับร่องกับรอยซึ่งจะทำให้เกิดเรื่องชู้สาวได้
  • ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึง ปล่อยให้คนที่ไม่ดีกลับไปสู่ถิ่นของตัวเอง เช่น ตำรวจจับคนร้ายได้แล้วแต่ยังไม่ทันระวังปล่อยให้คนร้ายหนีไปได้ เมื่อคนร้ายกลับคืนสู้ถิ่นฐานของตัวเองก็ย่อมระวังตัวทำให้จับได้ยากและมีแผนการร้ายเป็นภัยต่อสังคม
  • ปลาหมอตายเพราะปาก หมายถึง คนที่คิดไม่ดีและพูดไม่ดีพูดมากโดยไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตนพูดเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี จนกระทั่งเดือดร้อนกับสิ่งที่ตนเองพูดออกมาก
  • ปลาติดร่างแห หมายถึง คนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องนั้นแต่ต้องเป็นคนรับผิดชอบหรือรับเคราะห์กับเรื่องนั้นไปด้วย เช่น กอเป็นคนขายกาแฟโบราณ แล้วมีคนมาสั่งให้เอากาแฟไปส่งบ้านหลังหนึ่งที่มีคนเล่นการพนันในนั้นและกอก็ไม่รู้เลยว่าบ้านหลังนั้นเล่นการพนัน เมื่อไปส่งกาแฟพร้อมกับตำรวจมาจับนักพนันในบ้านหลังนั้นกอเลยโดนจับไปด้วย ก็เลยเรียกกันว่าติดร่างแห
  • ปลาตกน้ำตัวโต หมายถึง การทำสิ่งของหรือทรัพย์สินสูญหายไปแต่สิ่งนั้นเป็นสิ่งเล็กน้อยมีมูลค่าน้อย แต่กลับบอกคนอื่นที่ไม่เคยเห็นสิ่งนั้นมาก่อนว่าเป็นสิ่งที่ใหญ่มากมีค่ามาก เช่น คุณหญิงคนหนึ่งทำสร้อยเพชรหายและประกาศว่าสร้อยเพชรนั้นมีมูลค่าหลายล้านแต่ความจริงแล้วเพชรนั้นเป็นแค่เพชรปลอม
  • ปลาข้องเดียวกัน ตัวหนึ่งเน่า ก็พลอยพาให้เหม็นไปด้วย หมายถึง คนที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นครอบครัว ถ้าคนใดคนหนึ่งในกลุ่มทำตัวไม่ดีก็จะทำให้คนอื่นมองคนในกลุ่มเสียไปด้วย เช่น ในครอบครัวหนึ่งคนใดคนหนึ่งเป็นคนขี้โกงขี้ขโมยก็จะทำให้คนภายนอกมองครอบครัวนั้นว่าเป็นครอบครัวขี้โกง
  • ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หมายถึง บุคคลที่มีอำนาจเป็นคนใหญ่คนโตสามารถใช้อำนาจนั้นทำอะไรก็ได้ แต่บุคคลนั้นใช้อำนาจข่มขู่ผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าหรือคนที่อ่อนแอกว่า
  • ปีกกล้าขาแข็ง หมายถึง คนที่พึ่งพาตัวเองได้เหมือนลูกนกเมื่อพึ่งเกิดก็อาศัยพ่อแม่หาอาหารมาให้กิน เมื่อปีกกล้าขาแข็งก็สามารถพึ่งพาหาอาหารด้วยตัวเองได้

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ผ.ผึ้ง

  • แผลเก่า หมายถึง ความเจ็บช้ำที่ฝังลึกอยู่ในใจเมื่อมีคนพูดหรือสะกิดกับเรื่องที่เจ็บปวดก็จะรู้สึกเสียใจ ก็เหมือนการใช้มือตีแผลที่ยังรักษาไม่หายดี
  • ไผ่ลู่ลม หมายถึง อ่อนโอนอ่อนไหวเป็นตามเหตุหรือสถานการณ์ต่าง เหมือนกับยอดไผ่เมื่อมีลมพัดไปทิศทางใดยอดไผ่ก็จะลู่ไปทางทิศทางลม
  • ผักชีโรยหน้า หมายถึง การทำอะไรเป็นเพียงเล็กน้อยเป็นการฉาบหน้าเพื่อจะลวงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์ไปหมด การทำอะไรชั่วคราวให้คนอื่นเห็นว่าดี
  • ผัดวันประกันพรุ่ง หมายถึง การขอเลื่อนเวลาไปครั้งแล้วครั้งเล่าไม่ทำให้ภาระเสร็จสิ้นเสียที เช่น กอว่าจะทำการบ้านให้เสร็จในวันศุกร์แต่ก็เลื่อนไปทำวันเสาร์จนกระทั่งวันอาทิตย์การบ้านก็ยังไม่เสร็จ
  • ผัวหาบเมียคอน หมายถึง การช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวทั้งเมีย
  • ผ้าขี้ริ้วห่อทอง หมายถึง การแต่งตัวหรือการกระทำที่ดูเหมือนว่าไม่ร่ำรวยไม่หรูหราหรือดูเหมือนไม่มีฐานะ แต่ข้างในแท้จริงแล้วเป็นคนที่มีฐานะดีเพียงแต่ไม่แสดงออกนั้นเอง
  • ผีไม่มีศาล หมายถึง ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นแหล่งเร่รอนมักพเนจรไปตามสถานที่ต่างๆ
  • ผู้ดีแปดสาแหรก หมายถึง ดีทั้งวงศ์ตระกูล ผู้ดี คือ ผู้ที่มีความดีประพฤติดี สาแหรก คือ ผู้ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่วงศ์ตระกูล คือ พ่อแม่ของปู่และย่าเป็น 4 พ่อแม่ของตายายเป็น 4รวมกันเป็น 8
  • แผ่สองสลึง หมายถึง การนอนเหยียดยาวทั้งสองมือสองเท้านอนแบบสบายๆ
  • ผิดหูผิดตา หมายถึง การผิดปกติไม่เหมือนเดิม เช่น วันนี้เธอไปทำอะไรมาสวยผิดหูผิดตาเชียวนะ
  • ผินหลังให้ หมายถึง ไม่สนใจไม่ใยดีไม่ยุ่งเกี่ยวซึ่งกันและกัน
  • ผิดพ้องหมองใจ หมายถึง ขุ่นข้องหม่องใจ ไม่ชอบใจในการกระทำของฝ่ายตรงข้าม
  • ผิดสำแดง หมายถึง อาการผิดปกติของร่างกายหรือสิ่งของที่ไม่ปลอดภัยกับตัวเอง เช่น อาการหรือสิ่งของต่างๆที่ทำให้ร่างกายแพ้
  • ผ้าเหลืองร้อน หมายถึง อาการของพระที่อยากสึกไม่สงบสุขในสมณเพศ มีเหตุหรือกิเลสในอยากสึกออกจากความเป็นพระ
  • ผิดเป็นครู หมายถึง การกระทำที่ผิดพลาดแต่จะส่งผลให้เป็นประสบการณ์ในภายภาคหน้า เพื่อให้มีวิธีปกกันหรือแนวทางที่จะไม่ทำอีก
  • ผลพลอยได้ หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้นอกเหนือจากเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือเป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังตั้งแต่แรก
  • แผ่นดินกลบหน้า หมายถึง ตาย เพราะในสมัยก่อนบางพื้นที่ใช้การฝั่งศพแทนการเผา
  • ผีเข้าผีออก หมายถึง การกระทำเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เช่น แม่ค้าทำกับข้าวบางครั้งก็อร่อยบางครั้งก็ไม่อร่อยผีเข้าผีออก
  • ผงเข้าตาตัวเอง หมายถึง เมื่อผู้อื่นมีปัญหาก็ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษากับผู้อื่นได้ แต่เมื่อถึงคราวที่ตัวเองมีปัญหากับแก้ไขปัญหาไม่ได้ เหมือนกันฝุ่นผงเข้าตาและไม่สามารถเอาฝุ่นออกได้ด้วยตัวเอง
  • เผื่อขาดเผื่อเหลือ หมายถึง เตรียมสำรองไว้เผื่อไม่พอใช้ เช่น การจัดงานวันนี้อาหารต้องเตรียมให้พอกับแขกที่มาเผื่อขาดเผื่อเหลือไว้
  • ผ่อนผันสั้นยาว หมายถึง การยกโทษผ่อนผันให้ซึ่งกันและกัน การประนีประนอมกัน
  • ผ่อนหนักผ่อนเบา หมายถึง มีความหมายคล้ายๆกับผ่อนสั้นผ่อนยาว
  • ผักต้มขนมยำ หมายถึง จับนู้นจับนี่มาผสมปนเปกันมั่วไปหมด
  • ผิดฝาผิดตัว หมายถึง ไม่เข้าพวกไม่เข้าชุดกัน คนละพวกคนละฝ่าย
  • ผีซ้ำด้ำพลอย หมายถึง เมื่อถึงยามเคราะห์ร้ายหรือดวงไม่ดีทำอะไรผิดพลาดก็จะโดนซ้ำเติมอีก
  • ผีถึงป่าช้า หมายถึง ไม่มีทางเลือกที่จะไปต่อต้องจำใจอยู่ทั้งๆที่ไม่อยากอยู่
  • ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย หมายถึง เปรียบเทียบกับการอยู่ร่วมกันในครอบครัวหรืออยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ ถ้าคนภายในครอบครัวหรือสมาชิกในกลุ่มไม่ดีไม่มีความรักสามัคคีกันก็จะทำให้บุคคลภายนอกเข้ามาก่อความเดือดร้อนให้กับสมาชิกภายในบ้านได้ง่ายขึ้น
  • ผู้ชายพายเรือ หมายถึง ผู้ชายทั่วไป
  • ผู้หญิงยิงเรือ หมายถึง ผู้หญิงทั่วไป
  • ผู้ร้ายปากแข็ง หมายถึง คนที่ไม่ยอมรับความจริงหรือไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำผิด

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด พ.พาน

  • พกหินดีกว่าพกนุ่น หมายถึง เปรียบเทียบกับใจคน พกหิน คือ การทำจิตใจให้เข้มแข็งหนักแน่นไม่อ่อนไหวเหมือนหิน พกนุ่น คือ การมีจิตอ่อนไหวง่ายเหมือนนุ่นเชื่อคำพูดของคนอื่นโดยไม่คิดหน้าคิดหลังทำให้คนอื่นชักจูงได้ง่าย
  • พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น หมายถึง มีความพร้อมหรือได้รับโอกาสที่ดีแต่ก็ไม่สามารถคว้าสิ่งนั้นเอาไว้ได้ เช่น เมื่ออยากได้สิ่งของที่มีราคาแพงแต่ไม่มีเงินซื้อ แต่เมื่อมีเงินซื้อสิ่งนั้นก็หมดไปเสียแล้ว
  • พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ หมายถึง เหตุการณ์ที่คาดหวังไว้มีการเปลี่ยนแปลงอาจจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้
  • พิมเสนแลกกับเกลือ หมายถึง การลดตัวเองไปทำในสิ่งที่แย่กว่ามีแต่จะเสียหายกับตัวเองและจะเป็นการลดคุณค่าในตัวเอง
  • พุ่งหอกเข้ารก หมายถึง การกระทำสิ่งได้เป็นมักง่ายทำให้เสร็จๆไปเป็นลวกๆ โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาทีหลังและไม่คิดเลยว่าผู้อื่นจะได้รับความเดือดร้อนหรือไม่
  • เพชรตัดเพชร หมายถึง คนที่มีความสามารถหรือสติปัญหาที่เก่งพอๆ เมื่อมีการแข่งขันหรือวัดความสามารถกันผลก็จะออกมาเสมอ
  • พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง การพูดหรือทำอะไรออกแล้วจะทำให้เกิดผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น แต่ถ้าอยู่นิ่งๆเฉยไม่พูดอะไรออกไปก็จะดีเสียกว่า
  • แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร หมายถึง การยอมคู่กรณีเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องราวใหญ่โตหรือเหตุการณ์บานปลาย แต่หากไม่ยอมปัญหาต่างๆก็จะบานปลาย
  • พระมาลัยมาโปรด หมายถึง ในเวลาที่เดือดร้อนตกทุกข์ได้ยากหรือช่วงเวลาขับขัน แต่มีคนมายื่นมือให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลา
  • พระอิฐพระปูน หมายถึง เหมือนคนไม่มีความรู้สึกไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็อยู่นิ่งๆเฉยๆไม่รู้สึกดีใจหรือเสียใจกับใคร
  • พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ หมายถึง รู้ทันกันหรือรู้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะพูดหรือจะทำอะไร
  • พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย หมายถึง การพูดดีทำดีเป็นการสร้างความดีให้กับตัวเองส่งผลให้คนอื่นนับถือและชื่นชม แต่ถ้าพูดไม่ดีปากเสียคนก็จะเกลียดชังไม่มีคนรักใคร่นับถือ
  • พูดเป็นต่อยหอย หมายถึง พูดมากพูดไม่หยุดปาก ที่ใช้เปรียบเทียบกับคำว่าพูดเป็นต่อยหอยเพราะ ต่อย คือ การทุบ คนจะใช้ค้อนทุบหอยเวลาทุบก็จะเสียงทุบอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก หมายถึง เพื่อนกินเพื่อนเที่ยวหาง่ายหาที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เพื่อนที่จะอยู่ข้างเราเวลาที่เราลำบากหรือเดือดร้อนมักจะหาได้ยากและมีน้อย
  • พูดเป็นนัย หมายถึง พูดอ้อมทำให้สงสัยไม่พูดตรงไปตรงมา
  • แพะรับบาป หมายถึง คนที่รับเคราะห์หรือรับผิดแทน
  • พร้างัดปากไม่ออก หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนที่เงียบไม่ค่อยพูดไม่ค่อยจา
  • พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ หมายถึง พูดไม่เพราะพูดหวนๆไม่มีหางเสียง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฟ.ฟัน

  • ฟังความข้างเดียว หมายถึง การฟังคำพูดของคนฝ่ายเดียวและกลับตัดสินคนอื่นว่าเป็นคนยังไง
  • ฟังหูซ้าย ทะลุหูขวา หมายถึง ได้ยินรับฟังแต่ฟังไม่รู้เรื่องหรือไม่ทำตาม
  • ฟาดเคราะห์ หมายถึง เรื่องราวที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับตัวเอง หรือการเกิดอุบัติเหตุทำให้ตัวเองเจ็บตัว แต่ไม่คิดกังวลกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นและคิดในแง่ดีไว้ก่อนว่าถือซะว่าฟาดเคราะห์
  • ไฟจุกตูด หมายถึง มีความหมายคล้ายกับไฟลนก้น
  • ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง เปรียบเทียบกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวอย่านำไปเล่าให้คนภายนอกฟัง และอย่าเอาเรื่องราวจากภายนอกเข้ามาทำให้คนภายในบ้านเดือนร้อน
  • ไฟไหม้ฟาง หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่ดีแต่เกิดขึ้นเพียงแปบเดียวเดี๋ยวก็หายไป เหมือนกับอารมณ์แค่ชั่ววูบของคน
  • ไฟลนก้น หมายถึง กะทันหันการกระทำที่รีบร้อนรีบเร่งให้ทันเวลาที่กำหนดไว้ เช่น จะรีบเร่งสั่งงานให้เสร็จทันเวลาถ้าไฟไม่ลนก้นไม่อยากทำนะเนี่ย
  • ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอามากระเดียด หมายถึง การรับฟังเรื่องราวต่างๆโดยที่ไม่เข้าใจ แต่กับไปเล่าต่อทำให้เรื่องราวและข่าวสารผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
  • ฟังหูไว้หู หมายถึง การรับฟังเรื่องราวต่างโดยที่ยังไม่ปักใจเชื่อต่อเรื่องที่ได้รับฟัง และฟังความคิดเห็นทั้งสองฝ่ายโดยที่ยังไม่เลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
  • ฟื้นฝอยหาตะเข็บ หมายถึง พูดถึงเรื่องราวในอดีตและเกิดการทะเลาะกันหรือเป็นเรื่องราวที่เป็นประเด็นให้เกิดปัญหา
  • ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ หมายถึง ไม่ตีตนเสมอผู้ที่มีอายุเยอะกว่าหรือผู้ที่มียศศักดิ์เหนือกว่าตน ให้รู้จักกาละเทศะรู้จักที่ต่ำที่สูง
  • ไฟสุมขอน หมายถึง มีเรื่องกลุ้มรุ่มร้อนใจ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ม.ม้า

  • มะนาวไม่มีน้ำ หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับการพูดจาพูดไม่เพราะพูดหวนๆไม่มีหางเสียง
  • มะพร้าวห้าวขายสวน หมายถึง เอาสิ่งของมาให้กับคนที่มีอยู่แล้ว หรือใช้เปรียบเทียบกับการแสดงความรู้ในเชิงแนะนำหรือสอนคนที่มีความรู้มากอยู่
  • มัดมือชก หมายถึง การบังคับหรือใช้วิธีการต่างๆเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายสามารถคัดค้านหรือต่อสู้ได้
  • มันเทศขึ้นโต๊ะ หมายถึง การนำสิ่งของหรืออื่นที่เป็นสิ่งธรรมดาและสามารถพบเห็นได้ทั่วไป มายกย่องเชิดชู
  • มากหน้าหลายตา หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนมีคนมากมายมาอยู่ในสถานที่เดียวกัน เช่น งานเลี้ยงวันนี้แขกมาเยอะมากหน้าหลายตาเลยที่เดียว
  • มากหมอมากความ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายแต่ละคนต่างคนต่างความคิดทำให้ไม่ลงตัว
  • มารคอหอย (มาน-คอ-หอย) หมายถึง ใช้เปรียบเทียบถึงบุคคลที่เข้ามาขัดผลประโยชน์ที่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังจะได้แต่ต้องเสียผลประโยชน์ไปเพราะคนที่ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นมารคอหอย
  • มารหัวขน หมายถึง เด็กทารกที่อยู่ในท้องซึ่งไม่ทราบว่าใครคือพ่อของเด็ก
  • มาสำเภาเดียวกัน หมายถึง พวกเดียวกันฝ่ายเดียวกัน
  • มาเหนือเมฆ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถหรือทักษะที่เหนือกว่าผู้อื่นปรากฏตัวขึ้น โดยไม่มีคนคาดคิดหรือรู้มาก่อน
  • มีภาษีกว่า หมายถึง การได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง
  • มีหน้ามีตา หมายถึง เป็นที่รู้จักในหมู่สังคมมีคนเคารพนับถือยกย่องเชิดชู
  • มีอันจะกิน หมายถึง มีฐานะดีมั่งมี
  • มีอายุ หมายถึง คนที่มีอายุเยอะ ผู้สูงอายุ
  • มีเส้น หมายถึง การมีบุคคลเป็นผู้สนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง
  • มืดฟ้ามัวดิน หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับผู้คนคนเยอะ เช่น ผู้คนเข้ามาดูคอนเสริตะวันนี้เยอะมากมืดฟ้ามัวดิน
  • มืดแปดด้าน หมายถึง ปัญหารุมเร้าจนหาทางออกไม่เจอ คิดไม่ออก จนปัญญา
  • มือซุกหีบ หมายถึง การรับภาระหรือหน้าที่ไม่ใช่ภาระและหน้าที่ของตัวเอง
  • มือที่สาม หมายถึง บุคคลที่เข้ามาทำลายหรือยุให้คนสองมีเรื่องทะเลาะผิดใจกัน
  • มือสะอาด หมายถึง คนที่ประพฤติดีมีความสุจริตไม่เคยทุจริตคดโกงหรือสร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่น
  • มือห่างตีนห่าง หมายถึง คนที่ไม่ระมัดระวังชอบทำสกปรกเลอะเทอะ
  • มืออ่อนตีนอ่อน หมายถึง อาการตกใจอย่างรุนแรงจนมือไม่อ่อน เช่น ฉันวิ่งเข้ามาแบบจนทำให้เข้าตกใจมืออ่อนตีนอ่อนจนทำให้จานอยู่ในมือเขาร่วงลงพื้น
  • มือใครยาวสาวได้สาวเอา หมายถึง การแข่งขันแย่งชิงสิ่งของหรือผลประโยชน์
  • ม้วนเสื่อ หมายถึง การหมดตัวจากการเล่นการพนันหรือการค้าขายลงทุนจนขาดทุนทำให้หมดตัวไม่มีทุนค้าขายต่อ
  • ม้าดีดกะโหลก หมายถึง คนที่มีกริยาหรือพฤติกรรมที่ไม่เรียบร้อยซนเหมือนเด็ก กระโดงกระเดงอยู่ไม่นิ่ง
  • เมาดิบ หมายถึง คนที่มีอาการคล้ายคนเมาเหล้าแต่ความจริงไม่ได้เมาหรือแกล้งเมา
  • เมื่อเอยก็เมื่อนั้น หมายถึง เตรียมพร้อมเสมอ
  • แม่ม่ายไร้ทาน หมายถึง แม่ม่ายคือผู้หญิงที่มีสามีแล้วแต่สามีเสียชีวิตหรือหย่าร้างกัน แล้วไม่มีทรัพย์สินเงินทองอะไรติดตัวเลย
  • ไม่กี่น้ำ หมายถึง อีกสักพักอีกสักครู่ ไม่ช้าไม่นาน เช่น การเดินทางวันนี้อีกไม่กี่น้ำก็ถึงที่หมายแล้ว
  • ไม่ชอบมาพากล หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ผิดปกติไม่น่าไว้วางใจ
  • ไม่ดูดำดูดี หมายถึง ไม่ดูแลเอาใจใส่เมื่อเวลาที่ทุกข์ยากลำบาก

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ย.ยักษ์

  • ย้อมแมวขาย หมายถึง การนำสิ่งของที่พังเสียหายหรือชำรุดแล้วมาซ่อมแซมตกแต่งให้ดูสวยงาม แล้วหลอกคนอื่นว่าเป็นของดีมีคุณค่าแต่เมื่อใช้งานจริงก็ไร้ประสิทธิภาพ
  • ยื่นแก้วให้วานร หมายถึง เอาสิ่งของที่มีคุณค่าไปมอบให้กับคนที่มีรู้จักหรือเห็นคุณค่ากับของสิ่งนั้น
  • ยกเครื่อง หมายถึง การซ่อมหรือการปรับปรุงครั้งใหญ่
  • ยกเค้า หมายถึง การโดนขโมยทรัพย์สินไปจนหมด เช่น บ้านหลังนี้โดนยกเค้า
  • ยกภูเขาออกจากอก หมายถึง การหมดปัญหาที่ค้างคาทำให้โล่งอกโล่งใจ
  • ยกเมฆ หมายถึง การคาดเดาหรือเอาเรื่องบางเรื่อง หรือเหตุการณ์ที่ไม่มีมูลความจริงมาเป็นข้ออ้าง
  • ยกยอปอปั้น หมายถึง การชื่นชมการสรรเสริญเยินยอเกินความเป็นจริง
  • อย่าหวังน้ำบ่อหน้า หมายถึง สิ่งของที่เห็นและได้แน่นอนแล้วแต่ไม่รับไม่เอา กลับไปคาดหวังจะเอาสิ่งที่ยังไม่เห็นและไม่รู้ว่ามีหรือไม่
  • ยุแยงตะแคงรั่ว หมายถึง บุคคลที่ชอบทำให้คนอื่นทะเลาะมีเรื่องผิดใจกัน พูดให้คนอื่นเขาใจผิดซึ่งกันและกัน
  • ยื่นหมูยื่นแมว หมายถึง ยื่นแลกสิ่งของหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือผลประโยชน์ของซึ่งกันและกัน
  • แย้มปากเห็นไรฟัน หมายถึง เพียงแค่พูดออกมาอีกฝ่ายหนึ่งก็รู้และเข้าใจความหมายว่าคนที่พูดจะสื่อสารอะไร
  • ยื่นจมูก หมายถึง ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องของคนอื่นหรือการเข้าไปยุ่งธุระของคนอื่นที่ไม่ใช่ธุระของตัวเอง
  • ยืมจมูกคนอื่นหายใจ หมายถึง การทำการใดๆดดยที่ไม่ลงมือทำเองมักพึ่งพาคนอื่นเสมอ เมื่อคนอื่นปิดจมูกก็ไม่สามารถหายใจได้ เหมือนกับเมื่อคนอื่นไม่ทำให้สิ่งที่อยากทำก็ไม่เสร็จสิ้นและไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง
  • ยืนกระต่ายขาเดียว หมายถึง การยืนหยัดในความคิดของตัวเองไม่เปลี่ยนใจ
  • ยักษ์ปักหลั่น หมายถึง การเปรียบเทียบกับรูปร่าง การมีรูปร่างใหญ่โตเหมือนยักษ์
  • ยักท่า หมายถึง การเปลี่ยนท่าทีไม่ทำเหมือนที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ที่แรก
  • ยาหม้อใหญ่ หมายถึง สิ่งที่น่าเบื่อไม่น่าทำ
  • ยักกระสอบ หมายถึง การสับเปลี่ยนสิ่งของ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ร.เรือ

  • รกคนดีกว่ารกหญ้า หมายถึง รกคนหมายถึงคนเยอะคนมากแต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่หญ้าเยอะหญ้ารกใช้ประโยชน์ไม่ได้
  • รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี หมายถึง เปรียบเหมือนการห้ามปรามการดุเพื่อเตือนเมื่อลูกทำผิดก็ต้องมีการลงโทษสั่งสอนกันบ้าง
  • รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา หมายถึง การรักดีใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก
  • รักพี่เสียดายน้อง หมายถึง การตัดสินใจทำอะไรไม่ถูกจะเลือกอีกอย่างหนึ่งก็เสียดายอีกอย่างหนึ่ง สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบกับเรื่องการรักๆใคร่ๆจะเลือกอีกคนก็เสียดายอีกหนึ่งคน
  • รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ หมายถึง รักจะอยู่ด้วยกันนานๆให้ตัดความพยาบาท การระงับอารมณ์ไม่ให้อีกฝ่ายต้องเสียน้ำใจ
  • ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ หมายถึง เปรียบเทียบกับคนที่มีอำนาจสองคนจะอยู่ที่เดียวกันไม่ได้เพราะต่างคนต่างมีความต้องการในผลประโยชน์และแข่งขันกัน
  • รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง หมายถึง การทำอะไรได้ไม่ดีหรือทำอะไรไม่ได้อย่างที่ต้องการ ก็โทษว่าเป็นความผิดของคนนั้นคนนี้
  • รู้หลบเป็นปลีก รู้หลีกเป็นห่าง หมายถึง การรู้จักหลบหลีกการเอาตัวรอดจากภัยต่างที่จะมาถึงตัว
  • เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน หมายถึง การสูญเสียหรือทำอะไรสักอย่างหายไปแต่ไม่กังวลอะไรเลยเพราะคิดว่ายังไงก็ต้องได้คือ เช่น การทำของหายในห้องนอนแต่ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไรเลยเพราะยังไงๆก็หาเจอ
  • เรือล่มเมื่อจอด หมายถึง การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดระยะที่ทำมาสามารถทำได้เป็นอย่างดีแต่เมื่อใกล้จะเสร็จงานแล้วกลับมีความผิดพลาดล้มเหลวเกิดขึ้น
  • รีดเลือดกับปู หมายถึง การขูดรีดขู่บังคับกับคนที่ไม่มีทางที่จะหาให้ได้ เหมือนกับการรีดเลือดกับปูกับปูไม่มีเลือด
  • รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม หมายถึง มีความรู้ไว้ไม่หนักเหมือนการแบกหามความรู้ไม่มีน้ำหนักการเรียนรู้หลายอย่างหรือการเรียนรู้มากๆก็ไม่หนักไม่เปลืองแรงหรือเสียหายแต่อย่างใด
  • รวบหัวรวบหาง หมายถึง ฉวยโอกาสเมื่อมีโอกาส เช่น การผูกมัด รวบรัดให้สั้นลง ทำให้เสร็จแล้วขึ้น
  • รอดปากเหยี่ยวปากกา หมายถึง รอดพ้นหรือหนีจากอันตรายได้ทันเวลา
  • ระยำตำบอน หมายถึง การมีพฤติกรรมหรือความคิดที่ไม่ดีชอบทำอะไรพิเรนๆ
  • รักนักมักหน่าย หมายถึง เมื่อสนิทกันมากก็ขาดความเกรงใจและไม่ให้เกียรติกัน
  • รัดเข็มขัด หมายถึง การประหยัดการลดค่าใช้จ่าย
  • ราชรถมาเกย หมายถึง การมีลาภ ยศ ตำแหน่ง ลาภลอย โดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน
  • รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ หมายถึง รู้มากเกินไปก็ทำให้ยุ่งยากมากเรื่อง หากรู้น้อยเกินไปก็ทำให้ไม่เข้าใจอะไรเลย
  • รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หมายถึง คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายหรือเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนได้
  • เรียนผูกต้องเรียนแก้ หมายถึง รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข รู้กลอุบายทุกทางทั้งทางก่อและทางแก้
  • รู้งูงู ปลาปลา หมายถึง มีความรู้เพียงเล็กน้อยหรือไม่รู้เรื่องจริง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ล.ลิง

  • ล้วงคองูเห่า หมายถึง การกล้าไปลองดีท้าทายความสามารถต่อผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตน ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือทำให้ตัวเองเดือดร้อนได้
  • ลิงตกต้นไม้ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญในเรื่องใดก็อาจผิดพลาดในเรื่องนั้นได้
  • ลิ่นกับฟัน หมายถึง คนที่อยู่ด้วยกันหรือใกล้ชิดกันมากๆก็จะต้องมีเรื่องทะเลาะผิดใจกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา
  • หลังขดหลังแข็ง หมายถึง การทำงานต่อเนื่องกันเป็นเวลานานโดยไม่ได้หยุดพัก
  • ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก หมายถึง ผู้ที่ชอบพูดว่าสิ่งต่างๆทำได้ง่ายแต่พอเวลาจริงทำไม่ได้อย่างที่พูดไว้
  • ลิ้นตวัดถึงใบหู หมายถึง คนที่พูดจาตลบตะแลงเชื่อไม่ได้
  • ลูกไก่อยู่ในกำมือ หมายถึง ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจไม่มีทางหนีหรือต่อสู้ได้
  • เลือกที่รัก มักที่ชัง หมายถึง ลำเอียงไม่มีความเป็นธรรมเลือก
  • ลิ้นสองแฉก หมายถึง คนที่พูดสับปลับเชื่อถือไม่ได้
  • เลือดขึ้นหน้า หมายถึง โมโหจนขาดสติ โกรธจนหน้าแดง
  • ลิงขี้ใส่เรือ หมายถึง คนที่มีความซุกซนมักทำให้ของดีกลายเป็นของเสีย
  • โลภมากลาภหาย หมายถึง อยากได้หลายอย่างไม่รู้จักพอในที่สุดก็ไม่ได้อะไรเลย
  • เล่นกับหมาหมาเลียปาก หมายถึง การที่ผู้ใหญ่ไปเล่นกับผู้น้อยหรือคนอายุน้อยกว่าแบบสนิทสนม ก็จะทำให้ผู้น้อยกลับลามปามเล่นกับผู้ใหญ่แบบไม่ให้เกียรติ
  • ลงเรือแปะ ตามใจแปะ หมายถึง เมื่อไปอยู่หรืออาศัยพึ่งพาใคร ก็ต้องทำตามใจของคนเจ้าของบ้านหรือต้องมีความเกรงใจคนๆนั้น
  • ลางเนื้อชอบลางยา หมายถึง ใช่เปรียบเทียบกับความแตกต่างของคนเราเพราะมีความชอบไม่เหมือนกัน เช่น ยาทาสิวใช้กับคนนี้ไม่ได้ผลแต่ใช้กับอีกคนได้ผล
  • ลิงหลอกเจ้า หมายถึง เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็ทำตัวเรียบร้อยน่ารัก แต่เมื่ออยู่ลับหลังก็ดื้อซนเหมือนลิง
  • ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น หมายถึง ลูกย่อมมีพฤติกรรมหรือนิสัยคล้ายๆกับพ่อแม่
  • ลูบหน้าปะจมูก หมายถึง การจะทำอะไรโดยเด็ดขาดหรือจะลงโทษคนที่ทำผิดโดยเด็ดขาดแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะคนที่ทำผิดเป็นคนใกล้ชิดหรือลูกหลานของตัวเอง
  • เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง หมายถึง คนที่ได้รับผลพลอยได้หรือผลประโยชน์ที่ไม่สุจริตหรือไม่ค่อยโปร่งใสเสียเอง
  • เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ หมายถึง การอุปการะเลี้ยงดูไม่ว่าจะเป็นลูกตัวเองหรือลูกคนอื่นก็ตาม ถ้าเด็กคนนั้นมีนิสัยไม่ดีก็จะก่อความเดือดร้อนให้กับผู้เลี้ยงดูได้
  • เลือดข้นกว่าน้ำ หมายถึง เลือดเปรียบเหมือนกับญาติสนิทคนใกล้ชิด น้ำเปรียบเหมือนกับคนอื่น ญาติพี่น้องหรือคนสนิทของตัวเองก็มีความสำคัญกว่าคนอื่นเสมอ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ศ.ศาลา

  • ศรศิลป์ไม่กินกัน หมายถึง การไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน
  • ศิษย์คิดล้างครู หมายถึง บุคคลที่คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์หรือคนที่ฟูกฟักให้ความรู้แก่ตนเอง
  • ศาลเตี้ย หมายถึง การลงโทษหรือการจับคนมารับผิดโดยไม่ใช้กฎหมายถึง แต่ตั้งกลุ่มทำกันเองโดยพลการ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ส.เสือ

  • เสียกำซ้ำกอบ หมายถึง การสูญเสียอะไรไปแล้วในปริมาณน้อยนิด แต่กลับต้องมาเสียเพิ่มอีกในปริมาณมากกว่าเดิม
  • ใส่ไข่ หมายถึง การพูดจาใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นในเรื่องที่ไม่ดีหรือเรื่องที่ไม่เป็นความจริง หรือการพูดเกินความจริงให้ผู้อื่นเสียหาย
  • สิ้นไร้ไม้ตอก หมายถึง หมดหนทางไม่มีใครหรืออะไรที่จะช่วยเหลือได้
  • สิบเบี้ยใกล้มือ หมายถึง การได้สิ่งของหรืออะไรก็แล้วแต่ถึงจะมีค่าเพียงเล็กน้อยก็ควรจะเอามาเก็บไว้ก่อน
  • สู้ยิบตา หมายถึง สู้จนถึงที่สุดสู้ไม่ถอย
  • เสือนอนกิน หมายถึง ผู้ได้รับประโยชน์โดยที่ไม่ต้องลงทุนหรือลงแรงใดๆ
  • เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน หมายถึง การยุยงให้คนสองคนหรือสองฝ่ายทะเลาะกันหรือำให้เกิดการเข้าใจผิดกัน
  • สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ หมายถึง การมีความสุขจากการทำความดีหรือการมีความทุกข์จาการทำความชั่ว
  • สุนัขจนตรอก หมายถึง คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะหมดทางเลือก
  • สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง หมายถึง คนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นก็สามารถพลาดพลั้งได้
  • สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมายถึง คนที่ทำอะไรไว้ก็ต้องได้สิ่งนั้นตอบ ทำดีก็ต้องได้ดีตอบแทนเมื่อทำชั่วก็ต้องได้ชั่วตอบแทน

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ห.หีบ

  • หอกข้างแคร่ หมายถึง การมีศัตรูอยู่ใกล้ตัว เช่นคนใกล้ชิดหรือคนสนิทอาจจะคิดร้ายคิดไม่ดีทำร้ายเราเมื่อไหร่ก็ได้
  • หาเหาใส่หัว หมายถึง การหาเรื่องใส่ตัวหรือการนำเอาปัญหาไม่สู่ตัวเอง ทั้งๆที่ปัญหาเล่านั้นก็ไม่ใช้ปัยหาที่ตัวเองต้องรับผิดชอบ
  • หาเลือดกับปู หมายถึง การขูดรีดขู่บังคับกับคนที่ไม่มีทางที่จะหาให้ได้ เหมือนกับการรีดเลือดกับปูกับปูไม่มีเลือด

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด อ.อ่าง

  • เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ หมายถึง การทำการใดๆดดยที่ไม่ลงมือทำเองมักพึ่งพาคนอื่นเสมอ เมื่อคนอื่นปิดจมูกก็ไม่สามารถหายใจได้ เหมือนกับเมื่อคนอื่นไม่ทำให้สิ่งที่อยากทำก็ไม่เสร็จสิ้นและไม่
  • อ้อยเข้าปากช้าง หมายถึง การให้สิ่งของหรือการเสียสิ่งของให้กับคนอื่นไปแล้วก็ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้
  • เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ หมายถึง แกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะไม่ได้รับผิดชอบกับเรื่องนั้น
  • เอามือซุกหีบ หมายถึง การหาเรื่องเดือดร้อนหรือการเอาความลำบากมาใส่ตัว
  • อาบน้ำร้อนมาก่อน หมายถึง ผู้ที่เกิดก่อนจะเคยผ่านเหตุการณ์ต่างๆมามากมายและมีประสบการณ์มากกว่าคนเกิดทีหลัง
  • อดเปรี้ยวไว้กินหวาน หมายถึง การอดทนหรือฝืนใจรอสิ่งที่ดีกว่าในวันข้างหน้าที่จะมาถึง
  • อ้าปากเห็นไรฟัน หมายถึง รู้เท่าทันกันรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะทำอะไร มีความคล้ายๆแค่พูดก็เห็นลิ้นไก่
  • อาบเหงื่อต่างนํ้า หมายถึง คนที่ทำงานหนักอยากเหน็ดเหนื่อยจนเหงื่อไหลท่วมตัว
  • เอะอะมะเทิ่ง หมายถึง การพูดคุยส่งเสียงดังโดยที่ไม่เกรงใจผู้อื่น
  • เอาใจเขา มาใส่ใจเรา หมายถึง การรู้จักเห็นอกเห็นใจคนอื่นไม่ทำอะไรตามใจตัวเอง
  • อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ หมายถึง การลดตัวเองไปทำในสิ่งที่แย่กว่ามีแต่จะเสียหายกับตัวเองและจะเป็นการลดคุณค่าในตัวเอง

วีดีโอตัวอย่างสำนวนไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

สำนวนไทย

สำนวนสุภาษิตไทย    รวมถึงคำพังเพยนั้น นิยมใช้กันมาอย่างยาวนานและแพร่หลาย นับเป็นอีกหนึ่งในวัฒนธรรมที่น่าภาคภูมิใจของไทยเรา สำนวนไทย สุภาษิตไทยและคำพังเพยนั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น ทั้งทางดีและทางร้าย จนมีการนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาเรียบเรียงถ้อยคำใหม่ในเชิงสั่งสอนหรือเปรียบเทียบ จนเกิดเป็นสํานวนไทย สุภาษิตคำพังเพย และ สุภาษิตสำนวนไทยในที่สุด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สำนวนไทย

 

ความเป็นมาของสำนวนไทย
    สำนวนไทยเป็นสิ่งทรงคุณค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ สั่งสม และสืบทอดสู่ชนรุ่นหลัง  เป็นมรดกความงดงามแห่งภาษาไทย  อีกทั้งเป็นหลักฐานทางภาษาที่คนรุ่นก่อนบรรจงประดิดประดอยเรียงร้อยถ้อยคำให้สละสลวย  แฝงไว้ด้วยการตักเตือน สั่งสอน แนะนำ ชี้แจง  มีเหตุมีผล ฯลฯ ช่วยยกระดับความคิดและจิตใจให้สูงขึ้น  แสดงถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของคนไทยที่ไม่มีชนชาติใดเสมอเหมือน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๔๒ (๒๕๔๖หน้า ๑๑๘๗ให้ความหมายของสำนวนว่าเป็นคำนามหมายถึงถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว  มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่  เช่น  สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำรำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง สำนวนมักถ่ายทอดกันทางมุขปาฐะอาจใช้ว่าสำนวนคำพังเพย  สำนวนสุภาษิต  สำนวนเปรียบเทียบ หรือสำนวนใช้เฉพาะท้องถิ่น

ภาษิต หมายถึง คำกล่าวที่มีคติควรฟัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการสั่งสอน เตือนสติให้ได้คิด แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

  1. เมื่ออ่าน หรือ ฟังแล้วสามารถเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
  2. เมื่ออ่าน หรือ ฟังแล้ว ไม่สามารถเข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย

สำนวน หมายถึง โวหาร ทำนองพูด ถ้อยคำที่เรียบเรียง ถ้อยคำที่ไม่ถูกไวยากรณ์แต่รับใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง การแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ

สํานวนไทย จะมีความหมายโดยนัย เป็นลักษณะความหมายเชิงอุปมาเปรียบเทียบ จะไม่แปลความหมายตรงตามตัวอักษร จึงฟังแล้วมักจะ ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมา แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ เป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน

ความแตกต่างของ สุภาษิต สำนวน และคำพังเพย 
สุภาษิต จะไม่มีการเสียดสีหรือติชมอย่างคำพังเพย เป็นถ้อยคำที่แสดงหลักความจริง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่ว ๆ ไป ภาษิตนี้ยังมีความหมายรวมไปถึง สัจธรรม คำสั่งสอนที่เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ทางศาสนาด้วย เช่น ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เป็นต้น

การ์ตูนแอนิเมชั่น(2 มิติ) เรื่อง โรงเรียนสุภาษิตไทย

เป็นการ์ตูนที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ข้อคิดและสอนคำสุภาษิตไทย พร้อมทั้ง (ยกตัวอย่าง) การใช้คำสุภาษิตไทยในชีวิตประจำวัน

 

 

 

สำนวนไทย

การแบ่งประเภท

  1. การแบ่งตามมูลเหตุ
    1. หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน น้ำลดตอผุด
    2. หมวดที่เกิดจากการกระทำ เช่น ไกลปืนเที่ยงสาวไส้ให้กากิน ชักใบให้เรือเสีย ปิดทองหลังพระ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    3. หมวดที่เกิดจากสภาพแวดแวดล้อม เช่น ตีวัวกระทบคราด ใกล้เกลือกินด่าง ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
    4. หมวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
    5. หมวดที่เกิดจากระเบียบแบบแผนประเพณีความเชื่อ เช่น กงเกวียนกำเกวียน คู่แล้วไม่แคล้วกัน ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
    6. หมวดที่เกิดจากความประพฤติ เช่น หงิมหงิมหยิบชิ้นปลามัน ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ขี้เกียจสันหลังยาว
  2. มีเสียงสัมผัส
    1. คำสัมผัส เช่น คอขาดบาดตาย (ขาด กับ บาด คล้องจองกัน) มั่งมีศรีสุข (มี กับ ศรี คล้องจองกัน) ทำมาค้าขาย (มา กับ ค้า คล้องจองกัน)
    2. 6–7 คำสัมผัส เช่น ปากเป็นเอก เลขเป็นโท (เอก กับ เลข คล้องจองกัน) คดในข้องอในกระดูก (ข้อ กับ งอ คล้องจองกัน) แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร (พระ กับ ชนะ คล้องจองกัน) ขิงก็ราข่าก็แรง (รา กับ ข่า คล้องจองกัน)
    3. 8–9 คำสัมผัส เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
  3. ไม่มีเสียงสัมผัส
    1. 2 คำเรียงกัน เช่น กัดฟัน ของร้อน ก่อหวอด
    2. 3 คำเรียงกัน เช่น ไกลปืนเที่ยง ก้างขวางคอ ดาบสองคม พริกกับเกลือ
    3. 4 คำเรียงกัน เช่น ใกล้เกลือกินด่าง ผักชีโรยหน้า เข้าด้ายเข้าเข็ม
    4. 5 คำเรียงกัน เช่น ชักแม่น้ำทั้งห้า ลางเนื้อชอบลางยา ขว้างงูไม่พ้นคอ
    5. 6–7 คำเรียงกัน เช่น ยกภูเขาออกจากอก วันพระไม่มีหนเดียว ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตําน้ําพริกละลายแม่น้ํา

คุณค่า

ภาษาพูดหรือภาษาเขียนของชนแต่ละชาติย่อมจะมีอยู่ด้วยกันสองอย่าง คือ พูดตรงไปตรงมาตามภาษาของตนเอง เป็นภาษาพูดที่ต่างคนต่างฟังเข้าใจกันได้ง่าย พูดเป็นชั้นเชิง มีการใช้โวหารและคำคล้องจองในการพูดและการเขียน ทั้งนี้ เพื่อให้ความหมายชัดเจนหรือขยายความออกไปให้กระจ่างขึ้น หรือเพื่อให้เกิดความไพเราะน่าฟัง เป็นภาษาที่เราเรียกว่า “โวหาร” “เล่นลิ้น” หรือ” พูดสำบัดสำนวน” สำนวนเหล่านั้นจะแสดงความหมายอยู่ในตัวประโยคนั้นเอง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สำนวนไทย