สำนวนไทยในหมวดต่างๆ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ก.ไก่

กระดี่ได้น้ำ (As gay as a lark.)
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย

 

 

 

 

ความหมาย ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจตื่นเต้นจนตัวสั่น เกินงาม

กิ้งก่าได้ทอง
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย

ความหมาย คนเย่อหยิ่งจองหอง หรือลำพองตน เป็นการพูดติเตียนบุคคลผู้หลงผิดคิดว่าตนดีกว่าคนอื่น หรือคนที่มีฐานะด้อย เมื่อได้ดีแล้วลืมตัว ทำเย่อหยิ่งไม่นึกถึงคนที่เคยทำคุณแก่ตน

ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
ความหมาย ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง คนจะงามได้ก็ต้องแต่งตัวให้ดูดี

กลิ้งครกขึ้นภูเขา
สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
ความหมาย เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา

  • กินบนเรือนขี้รดบนหลังคา  ความหมาย คนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้วคิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อน
  • กินปูนร้อนท้อง  ความหมาย คนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้
  • ไก่แก่แม่ปลาช่อน    ความหมาย   หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน
  • กิ่งทองใบหยก    ความหมาย    หญิงและชายที่มีฐานะเสมอกัน ทั้งหน้าตาและรูปร่างสวยงามพอกัน มีอะไรที่เหมาะสมกัน จึงเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกันมาก
  • กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง ความหมาย  รู้ดีอยู่แก่ใจ เพราะทำเองแล้วแสร้งไม่รู้ไม่เห็น
  • กำขี้ ดีกว่า กำตด  ความหมาย  ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน
  • ใกล้เกลือกินด่าง    ความหมาย    ใกล้ของดี แต่ไม่ได้กิน อยู่ใกล้กับของดีแท้ ๆ แต่ไม่ได้รับเพราะกลับไปคว้าเอาของที่ดี หรือมีราคาด้อยกว่า
  • ก่อกรรมทำเข็ญ    ความหมาย    ทำให้ยุ่งยากลำบากใจ
  • เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน  ความหมาย  ถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อย ๆ ทำให้มีผลได้แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หลุดลอยไปเสีย
  • กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้  ความหมาย  ช้าเกินการ ได้อย่างเสียอย่าง การทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน การคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่ง
  • กินที่ลับ ขับที่แจ้ง ความหมาย  ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนเก่งกล้า หรือสามารถทำอย่างนั้นได้
  • กินน้ำใต้ศอก  ความหมาย  หญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย หรือ ได้อะไรที่ไม่เทียมหน้าเทียมตาคนอื่นเขา
  • เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง ความหมาย การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได้
  • ไก่กินข้าวเปลือก ความหมาย ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได้ นั่นเอง
  • แกว่งเท้าหาเสี้ยน  ความหมาย คนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ
  • กินข้าวร้อนนอนสบาย ความหมาย เกียจคร้าน ชอบทำอะไรจวนตัว

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ข.ไข่

  • ขี่ช้างจับตั๊กแตน
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน
  • เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย ที่ใหนเขาประพฤติอย่างไร ก็ประพฤติตามเขาไปด้วย อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา
  • ขว้างงูไม่พ้นคอ
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้
  • ข้าวใหม่ปลามัน 
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ
  • เขียนเสือให้วัวกลัว ความหมาย การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนให้กลัว
  • ขมินกับปูน ความหมาย คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูน
  • ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ความหมาย การทำอะไร ที่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทราม หรือการทุจริต โดยไม่มีความละอายใจ ให้ผู้อื่นเห็น โดยเฉพาะ หมายถึง ผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อย เห็นอย่างชัดแจ้ง
  • ขนมพอผสมกับน้ำยา ความหมาย ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้
  • ขี่ช้างอย่าวางขอ ความหมาย การที่มีลูกน้อง หรือมีผู้น้อยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของเรา ก็อย่าประมาทละเลยเสีย ต้องหมั่นกวดขันกำชับ เปรียบได้กับคนขี่ช้างต้องคอยถือขอสับช้างบังคับช้างไว้อยู่ตลอดเวลา ถ้าวางขอหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้ ช้างก็อาจพาลเกเรไม่ทำงานได้
  • เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า ความหมาย คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ
  • ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง ความหมาย สิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี หรือของแท้นัก

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ค.ควาย

  • คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คนที่เคยมีอำนาจและวาสนามาก่อน แต่ต้องตกต่ำลงก็อย่าเพิ่งไปคิดดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะเขาอาจกลับฟื้นฟูขึ้นอีกได้ ไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีชีวิตวางทิ้งไว้จะข้ามจะเหยียบอย่างไรก็ได้
  • คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย
  • คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ 
    สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
    ความหมาย คนที่จะรักเราจริง ๆ มีน้อยแต่คนเกลียดหรือคนชังเรามีเป็นส่วนมากกว่า
  • คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย ความหมาย เมื่อเวลาไปไหนคนเดียวไม่ปลอดภัยนัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าไปด้วยกันสองคน ก็อาจจะช่วย ขจัดเหตุร้าย หรือเป็นเพื่อนอุ่นใจ ได้ดีกว่า ไปคนเดียว
  • ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก ความหมาย มีเรื่องราว เดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไข หรือจัดการให้สงบดี ก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีกครั้ง
  • คนตายขายคนเป็น ความหมาย คนที่ตายไปแล้ว มีหนี้สินติดตัวอยู่มาก ทำให้คนที่อยู่ ซึ่งเกี่ยวข้อง หรือเป็นญาติพี่น้องต้องรับผิดชอบใช้หนี้ และมิหนำซ้ำ ต้องเป็นภาระในการจัดทำศพอีกด้วย
  • โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ความหมาย คิดกำจัดศัตรู ก็ต้องปราบให้เรียบ อย่าให้พรรคพวกของมันเหลือไว้เลย แม้แต่คนเดียว มิฉะนั้นพวกที่เหลือนี้จะกลับฟื้นฟูกำลังขึ้นมา เป็นศัตรูกับเราภายหน้าได้อีก คือต้อง ขุดราก ถอนโคน
  • ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ความหมาย เป็นคนมีความรู้สารพัด เกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่องขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญาแก้ไข
  • คางคกขึ้นวอ

    ความหมาย เปรียบเทียบคนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว วอในที่นี้ มีความหมายถึง วอที่นั่ง มีบริวารคอยหามเวลาเดินทางไปใหนมาใหน
  • คลื่นกระทบฝั่ง ความหมาย คือเรื่องราวที่เกิดขึ้น แล้วดูจะเป็นเรื่องใหญ่โต เรื่องสำคัญแต่แล้วเรื่องนั้นก็เงียบหายไปเฉยๆ เหมือนกับคลื่นน้ำในทะเลนั่นเอง
  • คบคนจรหมอนหมิ่น ความหมาย คบคนแปลกหน้า ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเกิดโทษหรืออันตรายได้ เหมือนหนุนหมอนหมิ่น ๆ ไม่ยอมหนุนตรงกลางหมอนอาจตกหมอนคอเคล็ดได้เช่นกัน
  • คมในฝัก ความหมาย เป็นคนเก่ง แต่เงียบไว้ไม่โอ้อวด
  • คาบลูกคาบดอก ความหมาย อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน เปรียบเทียบกับ ต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกันนั่นเอง
  • คู่เรียงเคียงหมอน ความหมาย ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันนั่นเอง
  • คดในข้องอในกระดูก ความหมาย คนที่เชื่อและไว้วางใจไม่ได้ ซึ่งมีสันดานคดโกงและฉ้อฉล

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ง.งู

  • งูเห็นนมไก่ ไก่เห็นตีนงู

    ความหมาย คนสองคนต่างคนต่างเห็นหรือรู้เรื่องเดิมหรือรู้ความในกันดี แต่คนอื่นอาจไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องของคนสองคนนี้เลย
  • งูกินหาง

    ความหมาย เกี่ยวกันเป็นวงจนหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ตัวอย่าง ฉันเบื่อการทวงหนังสือคืนแล้วหละ ทวงคนนี้บอกว่าอยู่ที่คนนั้น ทวงคนนั้นบอกว่าอยู่ที่คนโน้น ไม่สิ้นสุดราวกับงูกินหางเลยทีเดียว
  • งอมพระราม ความหมาย มีความทุกข์ยากลําบากเต็มที่ เหมือนพระรามต้องถูกขับไล่ไปอยู่ป่า
  • งูเงี้ยวเขี้ยวขอ ความหมาย สัตว์ร้ายนานาชนิดสำนวนนี้บ่งบอกถึงอันตรายตรงๆของสัตว์มีพิษพวกนี้เพราะชีวิตของคนสมัยก่อนต้องทำไร่ทำสวน ต้องเดินผ่านสุมทุมพุ่มไม้ หรือเดินตามคันนาหัวไร่ หรือไปไหนมาไหนตอนกลางค่ำกลางคืนก็ให้ระวัง งูเงี้ยวเขี้ยวขอ มันจะกัดจะต่อยเอา
  • เงาตามตัว หมายถึง ผลของการกระทำที่เกิดตามติดมาทันที หรือผู้ที่ไปไหนไปด้วยกันแทบไม่คลาดกันเลย
  • เหงื่อไหลไคลย้อย หมายถึง เหงื่อ และขี้ไคล เช่น อากาศร้อนมากจนเหงื่อไหลไคลย้อยกันหมดแล้ว หรือออกแรงทำงานหนัก ๆ
  • งมเข็มในมหาสมุทร

    หมายถึง ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทํากิจที่สําเร็จได้ยาก
  • เงื้อง่าราคาแพง หมายถึง จะทําอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทําลงไป ดีแต่ทําท่าหรือวางท่าว่าจะทําเท่านั้น
  • โง่เง่าเต่าตุ่น หมายถึง โง่มาก คือ เต่าเป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวช้า ตุ่นเป็นสัตว์ที่รูปร่างคล้ายหนู ชอบขุดรูอยู่ ชอบกินพืช เต่าและตุ่นมักถูกนำมาเปรียบกับคนโง่และคนเซ่อ เง่าหรือง่าว เป็นคำไทยเหนือแปลว่า โง่

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด จ.จาน

  • จับปลาสองมือ

    ความหมาย คนที่อยากจะได้สองอย่างทีเดียวพร้อมๆ กัน  โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ เปรียบเทียบกับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมด ไม่ได้อะไรเลย
  • จับเสือมือเปล่า

    ความหมาย ใช้เปรียบกับการที่ทำงานอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่มีทุนจะลงเลย ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามเรียกว่าเป็นการลองเสี่ยง หรือการลองใช้ความสามารถส่วนตัวทำดู
  • จอดเรือไม่ดูท่า ขี่ม้าไม่ดูทาง

    ความหมาย การทำอะไรไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอาจจะเกิดการผิดพลาดหรือเสียหายได้ เปรียบเทียบกับการจอดเรือหรือขี่ม้า ถ้าไม่ตรวจดูท่าจอดให้แน่นอน หรือไม่ดูหนทางที่จะขี่ม้าไปว่าจะเหมาะหรือไม่ อาจจะเกิดความผิดพลาดเสียหายได้
  • โจรปล้น ๑๐ ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว ถึงแม้คนเราจะถูกโจรขึ้นปล้นบ้านสัก ๑๐ ครั้ง ก็ยังไม่ทำให้ข้าวของ หรือทรัพย์สินบางอย่างภายในบ้านเราถึงขนาดหมดเกลี้ยงตัวเลยทีเดียวนัก แต่ไฟไหม้ครั้งเดียว เผาผลาญทั้งทรัพย์สิน และที่อยู่เราวอดวายเป็นจุลไปหมดเกลี้ยง
  • จับปูใส่กระด้ง

    ความหมาย ปูมักไม่คอยจะอยู่นิ่งเมื่อจับไปวางตรงไหน มันก็พยายามจะไต่ไปไต่มาเพื่อจะหาทางออก หรือคิดหนีไปท่าเดียว เปรียบได้กับคนหรือเด็กเล็ก ๆ ที่ซกซนอยู่ไม่นิ่ง ถึงจะอยู่ในที่บังคับอย่างไรก็จะดิ้นหรือซนเรื่อยไป
  • ใจปลาซิว ความหมาย มีใจไม่อดทน ยอมแพ้อะไรง่ายๆ
  • จ้าวไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด ความหมาย เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนที่เร่ร่อนไม่มีที่อยู่ประจำเป็นหลักแน่นอน.
  • จิ้งจกตีนศาล ความหมาย หากินเล็กๆน้อยๆ กับผู้มาติดต่อราชการ หรือพวกกระจอกงอกง่อย
  • เจ้ายศเจ้าอย่าง ความหมาย ถือยศถาบรรดาศักดิ์ ถือตัวถือศักดิ์ มีพิธีรีตรอง
  • จับแพะชนแกะ ความหมาย เอาทางโน้นมาใช้ทางนี้ เอาทางนี้ไปแทนทางโน้น สับสนวุ่นวายไปหมดหรือทำให้ไม่ประสานกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน นั่นเอง
  • จูบคำถลำแดง ความหมาย มุ่งหมายที่จะเอาอย่างหนึ่ง กลับไปได้อีกอย่างหนึ่ง
  • เจ้าชู้ประตูดิน ความหมาย เจ้าชู้ที่เกี้ยวไม่เลือกหน้า คือสมัยก่อนหนุ่มๆที่อยากดูสาวชาววังก็ต้องรอตอนสาวชาววังออกมาจับจ่ายซื้อหาข้าวของนอกประตูดินถึงจะได้เห็น และได้เกี้ยว
  • เจ้าชู้ไก่แจ้ ความหมาย บุคคลบางคน มีนิสัยชอบผู้หญิง แต่ไม่กล้าไปพูดจาเกี้ยวพาราสีกลัวเขาจะไม่พูดด้วย กลัวจะเสียหน้า จึงได้แต่แต่งตัวดี ๆ แต่งตัวหล่อ ๆ หวีผมทาแป้งแล้วไปเดินผ่าน เดินกรีดกรายทำท่าทางกระดิกกระดี้ให้หมู่สตรีเขาแลมองเท่านั้นเอง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฉ.ฉิ่ง

  • ฉลาดแกมโกง ความหมาย การใช้ความรู้ความสามารถเอาเปรียบผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น ศรีธนญชัย
  • ฉิบหายวายป่วง ความหมาย การทำอะไรที่ ทำให้สูญเสียหมด ล่มจม วอดวาย
  • ฉ้อราษฎร์บังหลวง ความหมาย ข้าราชการที่ใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังเอาเงินทอง และทรัพย์สิน โดยอำนาจหน้าที่ราชการที่มีอยู่
  • ฉับพลันทันด่วน ความหมาย เป็นอะไร หรือ เกิดอะไรขึ้น รวดเร็ว ไม่ทันตั้งตัว
  • ฉกชิงวิ่งราว ความหมาย มิจฉาชีพที่ทำอาชีพทุจริต โดยการ ฉก ชิง วิ่งราว แย่งเอาจากเจ้าของโดยไม่ได้ยินยอม
  • ฉิบหายขายตน ความหมาย เหมือนกับ ฉิบหายวายป่วง คือ เกิดความสูญเสีย ล่มจม วอดวาย

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ช.ช้าง

  • ช้า ๆ ได้พร่าเล่มงาม

    ความหมาย การทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามุ่งจะให้ได้ประโยชน์สมบูรณ์ก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ หรือไม่รีบร้อนจนเกินไปนัก คือ ให้ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ อย่าเร่งรีบจนเกินไป แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำงานแบบเอื่อยเฉื่อยไม่มีความกระตือรือร้น
  • ชักแม่น้ำทั้งห้า ความหมาย การเจรจา หว่านล้อมหรือขอร้องอะไรก็ตามที่จะไม่พูดตรงๆ แต่จะพูดอ้อมๆหว่าน ล้อมก่อนจะเข้าจุดประสงค์
  • ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน นำศัตรูเข้าบ้าน คือ ทำอะไรก็ตามที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัวเอง
  • ชาติคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก ความหมาย คนที่อวดดี หรือชอบกระทำนอกลู่นอกทาง เมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่เชื่อฟัง ยังขืนกระทำ จนเขาหมั่นไส้ปล่อยให้ลองทำเพื่อจะให้รู้สึกตัวบ้าง เพราะเชื่อว่าการกระทำนั้น ๆ จะต้องได้รับอันตรายถึงเลือดตกหรือเจ็บปวดเข้าก็ได้ จะได้รู้สึกได้ด้วยตัวเอง
  • ชักหน้าไม่ถึงหลัง ความหมาย เงินไม่พอใช้ ค่าใช้จ่ายเยอะ ไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ ความหมาย ตามหลักที่ว่าผู้ชาย จะทำอะไรก็ต้องให้เก่งกล้า หรือองอาจ ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง โดยเฉพาะหมายความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วจะต้องเก่งกล้าสามารถทุกคนเปรียบได้กับเสือ เพราะเสือเป็นสัตว์ดุร้ายแต่เก่ง ถือเอาลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความ เก่งกาจ จึงได้ชื่อว่า ชาติเสือต้องไว้ลายชาติชายต้องไว้ชื่อ
  • ชักใบให้เรือเสีย ความหมาย เป็นการพูดหรือทำอะไรให้เป็นที่ขวาง ๆ หรือทำให้เรื่องในวงสนทนาต้องเขวออกนอกเรื่องไป โดยไม่คิดว่าเรื่องที่เขากำลังพูดหรือทำอยู่นั้นจะมีความสำคัญขนาดไหน จึงถือเป็นเรื่องไม่ถูกกาลเทศะ
  • ชิงสุกก่อนห่าม ความหมาย การทำอะไรก็ตาม ที่ข้ามขั้นตอน หรือยังไม่ถึงเวลาก็ชิงทำไปก่อน เช่น เด็กที่อายุไม่ถึงเวลามีแฟน ก็รีบมีก่อนที่จะเป็นสาวเต็มตัว
  • ชักธงขาว ความหมาย สัญลักษณ์ของการยอมแพ้
  • ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ ความหมาย ว่ายังไงว่าตามกัน หรือ ไม่ว่าผู้มีอํานาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ
  • ชี้โพรงให้กระรอก

    ความหมาย ผู้ที่ชอบทำอะไรอยู่เป็นนิสัยแล้ว เช่น ชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยว ก็จะไป หรือผู้ที่เป็นขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าขโมย เช่นนี้ เรียกว่า ชี้โพรงให้กระรอก
  • ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว ความหมาย สำนวนนี้ คือผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอา อาการกระทำเป็นเครื่องวัด ในความโลเล ไม่มั่นคง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ด.เด็ก 

  • ดอกกระดังงาไทย ไม่ลนไฟไม่หอม ความหมาย สิ่งใดก็ตามถ้าปล่อยทิ้งไว้เปล่า ๆ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งธรรมดา ไม่ดีหรือไม่เลว แต่ถ้าไปทำให้มีเรื่องขึ้น กลับดูเหมือนจะทำให้ดีกว่าเก่า ตามความหมายดังกล่าวนี้  เราจึงมักจะเอามาใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยว่า  หญิงสาวบางคนที่บริสุทธิ์ นั้นดูเป็นสิ่งธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นจุดเด่น หรือ แปลกตา แต่ถ้าได้แต่งงานกับสามีหรือหย่าร้างกันไปก็เหมือน ดอกกระดังงาไทย ที่นำมาลนไฟด้วยเทียนผึ้งแล้วก็จะมีกลิ่นหอมโชย
  • ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ความหมาย  ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ” ” ดูข้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน ” ดังที่ได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่สำนวนที่ว่า ” ดูช้างให้ดูหาง ” นี้ มุ่งให้ดูหางช้าง  ที่บอกลักษณะ ว่า เป็นช้างดี หรือ ช้างเผือก เพราะที่ปลายหางของมันยังเหลือให้เห็นสีขาวอยู่ ตามเรื่องที่เล่าว่า  เวลาช้างพังตกลูก เป็นช้างเผือกสีประหลาด พวกช้างพลายและช้างพังจะช่วยกัน ” ย้อม ” กลายลูกมันเสีย ด้วยการใช้ใบไม้ หรือ ขี้โคนดำ ๆ พ่นทับ เพื่อมิให้คนรู้ว่า เป็น ช้างเผือกแต่จะมีส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่นั่นก็คือหางของมันนั่นเอง
  • เดินตามหลังราชสีห์ ดีกว่าเดินตามก้นสุนัข  ความหมาย  เป็นสำนวนที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน  หรือ ไม่มีนานมานี้นัก เรืองอำนาจในสมัยนั้น โดยถือคติยอมเป็นสมัคพรรคพวกของผู้มีอำนาจราชศักดิ์  ดีกว่ายอมร่วมวง กับผู้ ที่ปราศจากอำนาจ หรือทรัพย์สินเงินทอง
  • ได้แกง เทน้ำพริก ความหมาย เปรียบเทียบว่า  ได้ใหม่แล้วลืมคนเก่านั่นเอง มักจะใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรย  ผู้ชายเราที่ได้ภรรยาใหม่ก็ทิ้งเก่าไปเลย คำว่า ” น้ำพริก ”  หรือ  น้ำพริกถ้วยเก่า  เราจะหมายถึงภรรยาเก่าโดยเฉพาะ ก็เหมือนอาหารที่เราทำแล้วไม่มีรสชาติหรือขาดอะไรไปบางอย่างนั่นเอง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ต.เต่า

  • ต้นไม้ตายเพราะลูก ความหมาย พ่อแม่ที่ต้องเสียเพราะลูก เช่น  การรักลูกมากจนยอมเสียสละชีวิต หรือทรัพย์สินเพื่อลูก ตามที่ว่า ” ต้นไม้ตายเพราะลูก ” โดยที่ว่าต้นไม้บางชนิด เมื่อมีลูก หรือ มีดอกผลมักจะตาย หรือ โคนเพราะคนมาเก็บ หรือเมื่อออกดอกออกผลแล้ว  ก็มักจะแห้งเหี่ยวตายไปตามๆกันเปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำ
  • ตกกระไดพลอยโจน ความหมาย เป็นสำนวนที่ หมายความว่า  ติงานที่เขากำลังเริ่มต้นทำใหม่ ยังไม่ทันได้เห็นผลงานของเขา หรือเรียกว่า  มีปากก็ติพล่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า  ฝีมือเขาจะเป็นยังไง ” โกลน ” สำนวนนี้หมายถึง ซุง ทั้งต้นที่เขาเอามาเกลาหรือถาก ตั้งเป็นรูปขึ้นก่อน เพื่อที่จะต่อเป็นเรือขุด โกลนในชั้นแรก จึงดูไม่ค่อยเป็น รูปร่างดีนัก
  • ตีวัวกระทบคราด ความหมาย เป็นการแสร้งทำหรือแสร้งพูด เพื่อที่จะให้กระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่ง การเอา วัวกับคาดมาเปรียบ ก็เพราะ คราดซึ่งใช้เป็นเครื่องมือกวาดลาน ฟาง หรือหญ้าในนานั้นผูกเป็นคันยาว ใช้วัวลากและคราดจะเป็นฝ่ายกระตุ้นให้วัวทำงานลากคราดไป ซึ่งผลงานคงจะอยู่ที่คราด เป็นตังกวาด เมื่อคราดไม่ทำงานก็เลยใช้วิธีตีวัวให้ลากคราด เป็นทำนองว่า ” ตีวัวกระทบคราด ” วัวเลยกลายเป็นแพะรับบาป เพราะคราด ความหมายคล้ายกับว่า  เราทำอะไรคนหนึ่งไม่ได้ แต่ไปลงกับอีกฝ่ายหนึ่ง เช่นสัตว์เลี้ยง หรือคนที่ไม่รับรู้อะไรเลย
  • ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ ความหมาย  เป็นการสอนให้คนเราประพฤติชอบแต่ในทางที่ดีไม่ให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย แม้จะมีฐานะยากจนหรือ เป็นตนใช้หรือลูกจ้างเขา ก็ตามแต่ ก็ต้องรักษาความดี ความซื่อสัตว์ รวมทั้งความสะอาดกายด้วย  อย่าปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อของความชั่วเป็นต้น
  • ตาบอดได้แว่น ความหมาย เช่น  คนหัวล้านได้หวี นิ้วด้วนได้แหวน ” มี ความหมายเดียวกัน หมายถึง การที่เราได้ในสิ่งที่มีประโยชน์แก่ตนเองแม้แต่น้อย เพราะคนศรีษะล้าน ย่อมไม่มีผมจะหวี และ คนตาบอดถึงจะใส่แว่นก็มองไม่เห็น เพราะคนตาบอดสัมผัสไม่ได้ถึงแสงสว่าง
  • ตีงูให้หลังหัก ความหมาย  เป็นการ เตือนสติให้เราได้รับรู้ว่า เมื่อคิดจะทำอะไรก็ต้อง ตัดสินใจทำเด็ดขาด หรือจริงจังไปเลย อย่าทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ มิฉะนั้น ผลร้ายจะเกิดขึ้นภายหลังได้ เหมือนกับการที่จะตี หรือ กำจัดงูพิษ เราก็ต้องตีให้ตาย หรือ ให้หลังหักไปเลย ไม่ฉะนั้นมันจะย้อนกลับมาทำร้ายเราทีหลังได้
  • เต่าใหญ่ไข่กลบ  ความหมาย การที่จะทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามจะกลบเกลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้ ก็เหมือนกับการเอาเต่ามาเป็นคำเปรียบเทียบ ก็เพราะธรรมชาติของเต่าใหญ่  เช่น เต่าตนุเวลาจะวางไข่ ก็คลานขึ้นมาบนหาดทราย แล้วคุ้ยทรายให้เป็นหลุมเพื่อไข่ พอไข่เสร็จ ก็คุ้ยทรายกลบไข่เสีย เพื่อซ้อนไข่ตนไม่ให้ศัตรูมาทำร้าย หรือ ทำลายไข่ของตน
  • ตีตนไปก่อนไข้ ความหมาย จะมีอะไรที่ไม่ดี หรือ ข่าวร้ายเกิดขึ้นกับตัว โดยที่ยังไม่เป็นที่แน่นอน ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงก็เป็นได้ แต่ก็ดันชิงแสดงอาการ ทุกข์ร้อน หรือ หวาดกลัว หรือ วิตกกังวลไปเสียก่อน แล้วทำให้หมดกำลังใจ หรือ กำลังความคิดที่คิดป้องกันไว้ก่อน  เรียกกันว่า  ไข้ยังไม่ทันมาถึงก็ดันตีตนไปก่อนไข้ หรือ กระวนกระวายไปเอง
  • ตัวตายดีกว่าชาติตาย ความหมาย เป็นสำนวน  ปลุกใจที่สืบต่อกันมาหลาย ชั่วอายุคนแล้ว มีความหมาย ไปในทางให้คนเรารักประเทศชาติบ้านเมืองของตนเอง เมื่อยามมีศัตรูมารุกรานบ้าเมือง ก็พร้อมที่จะร่วมกันพลีชีวิต ต่อสู้เพื่อ ป้องกันประเทศชาติบ้านเมืองเพื่อไม่ให้ผู้ใดมาทำลายประเทศของตนเอง
  • ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ความหมาย การกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสม หรือ ได้สมดุลกัน หรือ ใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไร เช่น ลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ ซึ่ง ต้องใช้เงินมาก ๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่า ๆ ก็เหมือนกับการตำน้ำพริกเพียงครกเดียว แล้วนำไปละลายในแม่น้ำบ่อใหญ่ๆนานๆไปก็สูญเปล่า
  • ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา ความหมาย เป็นเชิงเตือนสติคนที่ไม่รู้จัก ที่ต่ำ ที่สูง หรือ คนที่ทะเยอทะยานทำตนเสมอกับคนที่สูงกว่า  ให้รู้จักยั้งคิดว่าฐานะของตนเอง ว่า เป็นอย่างไรเสียก่อน จึงค่อยคิดจะไปเทียบเทียมหน้าคนอื่น  ความหมาย ทำนองเดียวกับที่ว่า  ส่องกระจกดูเงาของตัวเองเสียก่อนที่จะไปว่าคนอื่นเขา
  • ตีงูให้กากิน  ความหมาย การลงทุน หรือลงแรง ทำอะไรขึ้นอย่างโดยไม่ได้เกิดประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น  เปรียบดั่ง ตีงูซึ่งต้องใช้ความกล้า หรือ กำลังเล่นงานงู แต่ครั้นพองูตายแล้วก็เอามาทำประโยชน์อะไรไม่ได้  ต้องทิ้งให้มีกลิ่นเหม็นหรือไม่ก็นำไปทิ้งให้กามาจิกกินเนื้อของงูกาเหล่านี้มักจะบินตามกันมาเป็นฝูงใหญ่ๆ
  • เตี้ยอุ้มค่อม ความหมาย คนที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ยังอุตส่าห์ไปช่วยคน ที่ยากจนกว่าตนเข้าอีกเท่ากับ ” เตี้ยอุ้มค่อม ” คือ ยิ่งทำให้ตัวเองแย่ลงไปอีก  หรือ จะเปรียบได้อีกทางหนึ่ง ว่า คนที่ทำงาน หรือ ทำอะไรที่เป็นภาระใหญ่ๆอยู่มากมาจนเกินสติกำลังของตนเองแต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าตนเองจะทำไปได้ตลอดชีวิตของตนหรือเปล่า

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ถ.ถุง

  • ถวายหัว หมายถึง ความจงรักภักดีต่อคนที่รักและเคารพจนเอาชีวิตเป็นประกัน,ยอมสู้ยอมตายถวายชีวิตให้ ตัวอย่าง ทหารรักชาติยิ่งชีพยอมสละชีวิตเพื่อชาติ
  • ถอดเขี้ยวถอดเล็บ หมายถึง ละความเก่งกาจ,ความดุร้าย,เลิกแสดงอำนาจ เช่น วันนี้แม่ไม่ดุไม่ด่าสงสัยจะถอดเขี้ยวถอดเล็บแล้ว
  • ถอนขนห่านหมายถึง การรีดภาษี,ขูดรีดประชาชน ความเป็นมาคือ สมัยก่อนทางฝั่งยุโรปขนห่านเป็นของมีค่าใช้ทำที่นอน หมอน รวมทั้งเครื่องบรรณาการ ห่านเวลาจะวางไข่จะใช้ขนของตัวเองมาทำรังชาวบ้านจะมาเก็บเอาขนของห่านไปขาย เมื่อความต้องการมีมากขนตามรังห่านมีไม่พอ ก็ต้องจับห่านมาถอนเอาเลยสร้างความเจ็บปวดให้กับห่าน
  • ถอนหงอกหมายถึงการที่ผู้ใหญ่โดนเด็กหรือผู้น้อยว่ากล่าวทำให้เสียหาย ไม่มีความเคารพนับถือผู้ใหญ่เช่น ผู้ใหญ่สั่งสอนเด็กว่าห้ามโกหกนะแต่วันหนึ่งผู้ใหญ่กลับโกหกเด็กเสียเองเมื่อเด็กรู้เข้าจึงว่ากล่าวผู้ใหญ่โดยไม่เกรงใจ
  • ถีบหัวส่งหมายถึง ขับไล่,เสือกไส,ไล่ไปให้พ้น,ไม่ไยดีอีกต่อไปเช่น เมื่อหมดประโยชน์ก็ถีบหัวส่ง
  • ถึงพริกถึงขิงหมายถึงเต็มที่, เผ็ดร้อนถึงใจเช่น การถกเถียงการโต้วาทีนี้ถึงพริกถึงขิง
  • ถึงลูกถึงคนหมายถึง ติดตามอย่างจริงจังใกล้ชิด เช่น นักข่าวติดตามการทำข่าวอย่างถึงลูกถึงคน, พิธีกรสัมภาษณ์แขกรับเชิญอย่างถึงลูกถึงคน
  • ถูกเส้น หมายถึง เข้ากันได้, ชอบพอกัน, ถูกอกถูกใจ เช่น เธอคนนี้พูดคุยกับฉันได้ถูกเส้นมาก
  • ถ่มน้ำลายรดฟ้าหมายถึงดูหมิ่นหรือคิดร้ายกับผู้ที่เป็นที่เคารพของคนทั่วไปหรือมีฐานะสูงกว่าตน อนาคตอันใกล้จะเกิดผลร้ายกับตนเช่น ชอบแขวะชอบพูดเสียดสีกับคนที่ชอบทำความดีว่าเป็นการสร้างภาพ ทั้งๆที่ตัวเองไม่ทำอะไรเลยดีแต่พูดแขวะคนอื่นจงทำให้ไม่มีคนคบไม่มีคนนับถือ
  • ถ่านไฟเก่าหมายถึง ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น
  • เถรตรงหมายถึง ซื่อหรือตรงจนเกินไป, ไม่มีไหวพริบ, ไม่รู้จักผ่อนผันสั้นยาว, ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
  • เถียงคำไม่ตกฟากหมายถึง ใช้กับเด็กที่ชอบเถียงผู้ใหญ่เถียงโดยไม่หยุดเถียงโดยไม่มีเหตุผล ไม่ว่าผู้ใหญ่จะพูดหรือสั่งสอนอย่างไรก็จะมีคำพูดตอบโต้เสมอ
  • ถอนรากถอนโคนหมายถึง ทำลายให้ถึงตอ ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม ถอนต้นก่นราก เช่น ในละครมีการฆ่าหรือกำจัดฝ่ายศัตรูให้หมดสิ้นซากถอนรากถอนโคนหรือการใช้วิธีถอนกำจัดวัชพืชแทนการตัดถ้าแค่ตัดวัชพืชก็จะงอกขึ้นมาใหม่ได้เร็วขึ้นแต่ถ้าใช้การถอน วัชพืชก็จะไม่ขึ้นหรือขึ้นยากกว่าเดิม
  • ถ่มน้ำลายแล้วกลับกลืนกินหมายถึง เป็นทำนองกลับคำพูดของตนเองที่ได้พูดไว้เช่น เมื่อไม่พอใจเพื่อนอีกคนหนึ่งก็ลั่นวาจาว่าจะเลิกคบไม่เกี่ยวข้องกันอีก แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็กลับไปคบเพื่อนคนนี้อีกเช่นเคย
  • ถลำร่องชักง่าย ถลำกายชักยากหมายถึง ถ้าพลาดเดินตกลงไปในร่องพื้นยังพอจะก้าวขาออกมาจากพื้นร่องได้แต่ถ้าถลำตกลงไปทั้งตัวก็ย่อมเอาตัวออกมาได้ยากสำนวนสุภาษิตนี้เปรียบเทียบกับความรัก เมื่อได้รักปลักใจกับใครไปแล้วก็มักจะตัดใจยาก
  • ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็นแปลตรงตัวหมายถึงที่ว่าตาข่ายถี่แล้วแต่ช้างยังลอดได้แสดงว่าไม่ถี่จริง(ถี่ถ้วน)ถ้าใช้กับคนคือคนที่ทำอะไรดูเป็นว่ารอบคบถี่ถ้วนดี แต่ความจริงไม่รอบคอบปล่อยให้มีช่องว่างเกิดขึ้นเช่น หอพักนี้ตรวจสอบคนเข้าออกอย่างถี่ถ้วนแต่พนักงานส่งจดหมาย คนส่งข้าว กาแฟ ยังเดินเข้าออกได้อย่างสบายๆ
  • ถ่อไม่ถึงน้ำ น้ำไม่ถึงถ่อหมายถึง การพูดหรือการกระทำอะไรที่ไม่ปฏิบัติให้ถึงแก่นสำคัญของเรื่อง หรือทำไปครึ่งๆกลางๆหรือขาดตกบกพร่องในการปฏิบัติ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ท.ทหาร

  • ทนายหน้าหอ หมายถึง หัวหน้าคนรับใช้หรือคนรับใช้ที่ชอบออกหน้ากับเจ้านายหรืออกหน้าแทน เช่น บริษัทแห่งหนึ่งได้ถูกชาวบ้านมาล้อมประท้วงบริษัทเนื่องจากเข้าผิดว่าจะมีการจัดตั้งโรงงานสารเคมีไว้ในที่ชุมชน แต่ผู้บริหารไม่ออกมาเจรจากับชาวบ้านแต่สงให้ถูกน้อง(ทนายหอหน้า)ออกมารับหน้าเจรจากับชาวบ้านแทน
  • ทองแผ่นเดียวกัน หมายถึง การเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงานทำให้ญาติและครอบครัวทางฝั่งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวมีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกัน
  • ทองไม่รู้ร้อน หมายถึง การกระทำที่เฉยเมย ไม่กระตือรือร้น ไม่สนใจว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือรู้สึกอย่างไร เช่น เจ้าของบ้านหลังหนึ่งปลูกต้นไม้แล้วต้นไม้นั้นยื่นออกไปที่รั่วบ้านของคนอื่นทำให้คนอื่นเดือดร้อน แต่เจ้าของบ้านกลับไม่ดูแลและจัดการกับต้นไม้ของตัวเองเลยทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน
  • ทั้งขึ้นทั้งล่อง หมายถึง มีความเกี่ยวข้องด้วยอย่างไรก็โดน ไม่สามารถหนีพ้นไปได้ เช่น คุณนี้นะทำอย่างนี้ก็โดนว่าทำอย่างโน้นก็โดนว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ผิดโดนทั้งขึ้นทั้งล่องจริงๆ
  • ทำได้อย่างเป็ด หมายถึง ทำได้ทุกอย่างแต่ไม่เป็นเลิศสักอย่าง เพราะเป็ดทำได้ทุกอย่างแต่ไม่เก่งสักอย่าง คือเป็นร้องได้แต่ไม่เพราะเหมือนไก่ เป็ดบินได้แต่ไม่สูงเท่านก เป็ดว่ายน้ำได้แต่ก็ไม่เก่งเท่าปลา
  • ทิ้งทวน หมายถึง ทำอย่างไว้ฝีมือ, ทำจนสุดความสามารถ, ไม่ทำอีกต่อไป ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป ฉวยโอกาสทำเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอำนาจ
  • ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย หมายถึง การทิ้งทวนใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เป็นครั้งสุดท้าย งัดไม้เด็ดออกมาใช้ทีหลัง เช่น ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยจะดีนักเงินเก็บก็หมด เขาก็เลยตัดสินขายนาฬิกาเรือนที่รักที่สุดเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายประคับประคองตัวเองให้อยู่รอดได้,
  • ทีใครทีมัน หมายถึง โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้นหรือใช้กับการแข่งขัน เมื่อครั้งก่อนนายเอเป็นผู้ชนะ แต่ครั้งนี้นายบีเป็นฝ่ายชนะโอกาสจึงเป็นทีใครทีมัน
  • ที่เท่าแมวดิ้นตาย หมายถึง พื้นที่หรือที่ดินเล็กน้อย เช่น ที่ดินแค่นี้ที่เท่าแมวดิ้นตายแต่จะเอาไปทำเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ทเอาไว้ปลูกบ้านหลังเล็กอยู่ไม่ดีกว่าหรอ
  • ทุบหม้อข้าว หมายถึง ตัดอาชีพ, ทำลายหนทางทำมาหากินของตัวเอง เช่น ร้านค้าแห่งหนึ่งนำสินค้าหมดอายุเข้ามาขายในร้าน ที่ให้ลูกค้าที่มาซื้อของเจอสินค้าที่หมดอายุและไม่อยากจะซื้อสินค้าที่ร้านนี้อีกที่ร้านค้าทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการทุบหม้อข่าวตัวเอง
  • ท่าดีทีเหลว หมายถึง มีท่าทางดีแต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง เช่น นาย ก.  พูดว่าอยากทำนู่นอยากทำนี่แต่ไม่เคยลงมือทำอะไรสักอย่าง
  • ท้องยุ้งพุงกระสอบ หมายถึง คนกินจุที่กินจุผิดปรกติ กินได้มากท้องแปลเหมือนยุ้งข้าวเหมือนกระสอบจุอาหารได้เยอะ
  • ท้องแห้ง หมายถึง ฝืดเคือง, อด ถ้าเปรียบเทียบกับเรื่องเงินทองก็เหมือนว่าไม่มีเงินพอที่จะใช้จ่ายอดมื้อกินมื้อจนท้องแห้ง
  • เทครัว หมายถึง ยกครอบครัวไป, ชายที่เอาแม่ ลูก พี่ และน้องเป็นภรรยาหมดทั้งบ้าน
  • เทน้ำเทท่า หมายถึง คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคำ ขาย เป็นขายดีอย่างเทน้ำเทท่า เช่น ยายให้หลานเอาขนมไปขายแต่หลานขายดีและหมดเร็วยายจึงพูดกับหลานว่าขายดีจังเหมือนเอาไปเทลงน้ำลงท่าเลย
  • เทือกเถาเหล่ากอ หมายถึง เชื้อสายวงศ์ตระกูลที่สืบเนื่องต่อกันมา เช่น เธอเป็นลูกเต้าเหล่าใครเทือกเถาเหล่ากอเธอมาจากที่ไหน
  • แทงใจดำ หมายถึง พูดตรงกับความในใจของผู้ฟังและคำพูดนั้นเป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเจ็บได้
  • แทรกแผ่นดิน หมายถึง หลีกหนีไปให้พ้นไม่อยากให้ใครพบหน้าเพราะอับอาย เช่น เจ้าหนี้มาทวงหนี้กับเจ้าของบ้านหลังนี้ เขาหนีหัวซุกหัวซุนแทบแทรกแผ่นดินหนีเลยหละ
  • ทางออก หมายถึง ทางรอด,วิธีแก้ปัญหา เช่น พรุ่งนี้ส่งงานไม่ทันแน่เลยอะฉันจะหาทางออกยังไงหละทีนี้
  • ทํานาบนหลังคน หมายถึง คนที่เห็นแก่ได้หาผลประโยชน์ใส่ตนเอง โดยใช้วิธีเบียดเบียนขูดรีดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
  • ทําบุญเอาหน้า หมายถึง ทําบุญอวดผู้อื่นไม่ใช่ทําด้วยใจ
  • ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป หมายถึง การเข้าไปช่วยเหลือคนอื่นแต่กลับได้โทษตอบแทน เช่น จะให้คำปรึกษาให้กับผู้ใดผู้หนึ่ง แต่โดนคนผู้นั้นด่ากับมาว่ายุ่ง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด น.หนู

  • น้ำกลิ้งบนใบบอน หมายถึง เปรียบเหมือนใจคนที่ไม่มีความแน่นอน เชื่อใจไม่ได้เอาแน่เอานอนกับคนๆไม่ได้
  • น้ำขึ้นให้รีบตก หมายถึง เมื่อโอกาสดีๆมาถึงก็ควรจะรีบคว้าเอาไว้อย่าปล่อยโอกาสให้หลุดมือไป เปรียบเสมือนเมื่อสมัยโบราณต้องตักน้ำใช้เองเมื่อน้ำขึ้นให้รีบตัก อย่าปล่อยให้น้ำแห้งไปโดนไม่ได้ตักเก็บไว้เพราะจะไม่มีน้ำใช้
  • น้ำเชี่ยวขวางเรือ หมายถึง การกระทำที่ขัดกับสถานการณ์บางอย่างที่กำลังรุนแรง หรือการเข้าไปคุยกับคนที่กำลังโมโหร้ายและอาจจะทำให้คนที่กำลังเข้าไปในเหตุการณ์รุนแรงนั้นได้รับอันตรายได้ เหมือนกับน้ำที่กำลังเชี่ยวและไหลอย่างรุนแรงแต่พายเรือออกไปก็จะทำให้เรือพลิกคว่ำได้
  • น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา หมายถึง โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้นเมื่อฝ่ายนี้เคยเป็นผู้ชนะหรือผู้ได้เปรียบ อีกฝ่ายหนึ่งก็ย่อมชนะและได้เปรียบด้วยเช่นกัน
  • น้ำตาลใกล้มด หมายถึง ผู้หญิงกับผู้ชายที่อยู่ใกล้กันผู้หญิงเปรียบเหมือนน้ำตาล ผู้ชายเปรียบเหมือนมด เมื่อผู้หญิงก็ใกล้ผู้ชายก็มักจะถูกผู้ชายแซวหรือคุมคามเหมือนมดกับน้ำตาล
  • น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง หมายถึง คนที่พูดมากแต่จับประเด็นและเนื้อหาสาระไม่ได้เลย การพูดมากก็เหมือนกับน้ำที่ท่วมทุ่ง เนื้อหาสาระที่มีน้อยนิดก็เหมือนกับผักบุ้งโหรงเหรง(เบาบาง,น้อย)
  • น้ำผึ้งหยดเดียว หมายถึง การทำให้เรื่องเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องน้ำผึ้งหยดเดียวมีอยู่ว่ามีคนถือรังผึ้งเดินไปตามถนนและน้ำผึ้งก็หยดไปตามถนนทำให้มดมากินน้ำผึ้ง เมื่อจิ้งจกเห็นมดจิ้งจกก็มากินมด เมื่อแมวเห็นจิ้งจกแมวก็จะเข้ามากินจิ้งจก เมื่อมีหมาตัวหนึ่งเดินมาเห็นแมวหมาก็ไล่แมว และเจ้าของแมวมาเจอแมวตัวเองโดนหมาไล่ก็ใช้ไม้ฟาดหมา เมื่อเจ้าของหมาเมื่อเจอหมาตัวเองกำลังโดนฟาด เจ้าของหมาและเจ้าของแมวเลยทะเลาะกันจนกลายเป็นเรื่องใหญ่
  • น้ำนิ่งไหลลึก หมายถึง คนที่มีบุคลิกเงียบขรึมสงบเสงี่ยมพูดน้อย แต่ภายในเป็นคนที่ฉลาดหลักแหลมมาก หรือคนที่ดูเป็นคนเรียบร้อยไม่มีพิษไม่มีภัยกับใครแต่ข้างในแล้วอาจเป็นที่มีความคิดร้ายกาจ
  • น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า หมายถึง การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เปรียบเสมือนน้ำกับเรือที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และเสือก็ต้องพึ่งพาป่าใช้เป็นแหล่งหาอาหารและที่อยู่อาศัย
  • น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย หมายถึง น้ำร้อนเปรียบเหมือนคนที่พูดจาไม่ค่อยดีปากร้ายแต่ข้างในลึกแล้วก็เป็นคนตรงๆไม่มีพิษไม่มีภัยกับใครแค่พูดจาโผงผางเท่านั้นเอง น้ำเย็นเปรียบเหมือนคนที่ข้างนอกปากหวานพูดจาดีแต่ข้างในลึกแล้วมักโกหกหลอกลวงทำให้คนที่หลงเชื่อคำพูดหวานๆเดือนร้อน
  • น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก หมายถึง จิตใจของคนยากที่จะรู้ว่าข้างในคิดอย่างไรและไม่สามารถวัดได้ว่าจิตใจของคนผู้นั้นเป็นคนดีหรือไม่ดี และน้ำลึกยังสามารถวัดได้ว่าวัดน้ำมีความลึกเท่าไห
  • น้ำลดต่อผุด หมายถึง คนที่ทำไม่ดีและกลบเกลื่อนไว้ไม่มีใครเห็น แต่เมื่อถึงเวลาทีเวรกรรมตามทันก็จะทำให้คนเห็นสิ่งไม่ดีที่ได้ทำไว้เหมือนต่อไม้ที่ผุดขึ้นเมื่อน้ำลด
  • นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น หมายถึง คนที่ไม่อยากรับผิดชอบหรือบอกว่าไม่รู้ไม่เห็นกับเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นบ่ายเบี่ยงปัดความรับชอบ เช่น ก. เป็นคนทำแก้วแตกโดยไม่มีใครเห็น เมื่อ ข. มาเจอแก้วที่แตกอยู่จึงถาม ก. ว่าใครทำแก้วแตก ก. จึงตอบ ข. ว่าฉันไม่รู้ฉันหลับอยู่
  • นกยูงมีแววที่หาง หมายถึง คนที่มีฐานะดีหรือคนที่มีสกุลรุนชาติดี ก็จะมีอะไรเป็นที่สังเกตให้เห็นอยู่บ้างเช่น กิริยามารยา ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องประดับ การกระทำ เหมือนนกยุงที่สวยงามเพราะหางของมัน
  • นับสิบไม่ถ้วน หมายถึง คนที่ขาดความรู้ความสามารถหรือคนขี้หลงขี้ลืม นับไม่ถึงสิบหรือนับตกหล่นนับไม่ครบนับวนไปวนมา
  • เนื้อเข้าปากเสือ หมายถึง เมื่อต้องตกอยู่ในอันตรายก็จะรอดยาก หรือคนที่ถูกหลอกให้เชื่อแล้วก็ถอดตัวช้าไป เหมือนเนื้อที่เข้าไปอยู่ในปากเสือแล้วเสือก็ไม่มีทางที่คายอกมา
  • เนื้อเต่าย้ำเต่า หมายถึง สิ่งที่มีในตัวมันเองและใช้สิ่งที่มีทำประโยชน์ต่อไป เช่น ค้าขายได้เงินก็นำเงินไปลงทุนต่อ
  • เนื้อหมูไปใส่เนื้อช้าง หมายถึง การนำเอาทรัพย์สินหรือของต่างๆจากคนที่มีน้อยไปให้คนที่มีมากกว่า หรือการเอาเงินจากคนที่มีฐานะไม่ดีเอาไปให้คนที่มีฐานะดีกว่า
  • เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ หมายถึง คนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนั้นแต่ต้องมารับผิดชอบ เช่น ก. เอางานของตัวเองไปให้ ข. ช่วยทำและต้องทำให้เสร็จ ซึ่ง ข. ไม่ได้ประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียจากงานของ ก. เลยก็มารับภาระ
  • นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น หมายถึง กลุ่มคนก็ต้องมีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไป คนในไม่ดีก็ต้องคัดออกจากกลุ่มเพื่อไม่ให้สร้างความเดือนร้อนให้กับกลุ่ม เปรียบเหมือนนิ้วที่เป็นแผลติดเชื้อจนรักษาไม่ได้ก็ต้องตัดทิ้งเพื่อไม่ให้เชื้อโรคลามไปส่วนอื่น
  • นิ้วด้วนได้แหวน หมายถึง คนที่ได้รับสิ่งได้สิ่งหนึ่งมาแล้วไม่เกิดประโยชน์ขึ้นกับตน เหมือนคนนิ้วด้วนได้แหวนเมื่อนิ้วด้วนก็ใส่แหวนไม่ได้ หรือคนหัวล้านได้หวีเมื่อไม่มีผมก็หวีไม่ได้
  • นกน้อยทำรังแต่พอตัว หมายถึง จะทำให้ทำแต่พอดีตามฐานะตัวเองไม่ควรทำอะไรเกินตัวหรือเกินฐานะของตัวเอง เช่น การใช้จ่ายต่างๆต้องใช้ตามที่ตัวเองมีอย่าใช้จ่ายเกินตัวจนเป็นหนี้เป็นสินง
  • น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก หมายถึง อย่าแสดงอาการโกรธเคืองหรืออาการไม่พอใจออกมากอย่างไม่มีเหตุผลหรือไม่ถูกกาลเทศะควรจะยิ้มสู้เข้าไว้
  • น้ำซึมบ่อทราย หมายถึง มีรายได้หรือผลประโยชน์เข้ามาที่ละน้อยแต่มีตลอดแต่ไม่ขาดมือ เหมือนน้ำที่ซึมขึ้นมาจากบ่อทรายเวลาขุด เช่น ถ้าคิดจะขายที่ดินก็ปล่อยให้เช่นดีกว่าเพราะการขายจะได้เงินก้อนใหญ่ก้อนเดียวใช่ไปหมด แต่ถ้าปล่อยเช่าก็จะได้เงินค่าเช่าตลอด
  • น้ำตาเช็ดหัวเข่า หมายถึง คนที่ผิดหวังเสียอย่างหนักจนต้องร้องไห้นั่งกอดเข่า
  • น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ หมายถึง การทำสิ่งต่างๆหรือการแข่งขันคนที่มีกำลังน้อยกว่าก็ย่อมแพ้คนที่มีกำลังมากกว่า เช่น การแข่งขันชักกะเย่อฝ่ายีมีพละกำลังน้อยกว่าก็ต้อแพ้ฝ่ายที่มีพละกำลังมากกว่า
  • น้ำท่วมปาก หมายถึง การรับรู้เรื่องราวแต่ไม่สามารถพูดออกมาได้เพราะกลัวว่าจะมีภัยกับตัวเอง เช่น ก. เห็นหน้าคนร้ายที่เข้ามาขโมยเงินในบ้าน ข. แต่ไม่สามารถบอกใครได้ เพราะกลัวโดนขโมยทำร้าย

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด บ.ใบไม้

  • บุกป่าฝ่าดง หมายถึง การต่อสู้กับอุปสรรคและอันตรายต่างๆอย่างไม่เกรงกลัว เหมือนกับการทำงานที่ได้รับและฝ่าฟันกับอุปสรรคต่างๆให้ประสบความสำเร็จ
  • บุญหนักศักดิ์ใหญ่ หมายถึง คนที่มีบุญอำนาจวาสนาและบารมี มีฐานะดีมีชื่อเสียงเกียรติยศมีคนนับหน้าถือตาเป็นที่เคารพ
  • เบี้ยหัวแตก หมายถึง เงินที่ไม่ได้เป็นเงินก้อนได้มาทีละเล็กทีละน้อย ใช้จ่ายแปบๆก็หมดไปไม่พอใช้ เช่น ลูกหนี้ของฉันไม่ยอมจ่ายเงินคืนเป็นก้อนแต่ให้มาทีละเล็กทีละน้อย
  • บนบานศาลกล่าว หมายถึง การบอกกล่าวให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้เรื่องที่ตนเองปรารถนาประสบความสำเร็จ การบนบานมีความหมายคล้ายๆกับการติดสินบน เช่น นักศึกษาจบใหม่บนบานสิ่งศักดิ์ให้ช่วยให้มีงานทำงาน เมื่อมีงานทำแล้วจะถวายหัวหมูให้
  • เบาไม้เบามือ หมายถึง การทำอะไรด้วยความระมัดระวังทำด้วยความประณีต เช่น หลานช่วยยายห่อข้าวต้มมัดแต่ด้วยความที่หลานยังไม่มีความชำนาญจึงทำให้ใบตองที่ใช้ห่อข้าวขาด ยายจึงบอกหลานว่าเบาไม้เบามือหน่อยค่อยทำพังใบตองขาดเสียหายหมด
  • บอกเล่าเก้าสิบ หมายถึง บอกเล่าเรื่องราวต่างที่ได้พบเจอให้คนอื่นๆรับรู้ เช่น วันนี้ฉันมีเครื่องสำอางดีมาบอกต่อฉันใช้แล้วชอบมาก
  • บอกหนังสือสังฆราช หมายถึง สอนสิ่งที่คนๆนั้นรู้ดีอยู่แล้วคล้ายกับสำนวนที่ว่าสอนจระเข้ว่ายน้ำ
  • บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น หมายถึง การรู้จักรักษาถนอมน้ำใจซึ่งกันและกัน บัวกับน้ำก็เปรียบเสมือนใจรักษาน้ำใจไม่ให้ชอกช้ำขุ่นเคืองซึ่งกันและกัน
  • บ่างช่างยุ หมายถึง บุคคลที่มีความขี้อิจฉาอยู่ในตัวและยุยงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดและผิดใจกัน
  • บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน หมายถึง สถานที่ที่เคยอยู่มาก่อนหรือเป็นคำพูดที่ใช้เมื่อคิดถึงบ้านตอนจากมาไกล อู่หมายถึงแปล
  • บ้านแตกสาแหรกขาด หมายถึง ครอบครัวหรือบ้านเมืองที่มีความวุ่นวายถึงกับทะเลาะกันอย่างรุนแรงเมื่อร้ายแรงขึ้นก็ถึงขั้นแตกแยกกัน
  • บ้านนอกคอกนา หมายถึง เปรียบถึงคนสมัยก่อนที่บ้านอยู่นอกเมืองนานครั้งถึงจะเข้าเมือง เมื่อได้เข้ามาในเมืองแล้วก็จะรู้สึกแปลกตาตื่นเต้นกับสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็น
  • บานปลาย หมายถึง เหตุการณ์หนึ่งที่มีความรุนแรงหรือใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเกินขอบเขตที่กำหนดไว้ เช่น การประชุมครั้งนี้หาข้อสรุปไม่ได้ต่างฝ่ายต่างมีความคิดเห็นขัดแย่งจนเหตุการณ์เริ่มบานปลายขึ้นเรื่อยๆ
  • บ้านเมืองมีขื่อมีแป หมายถึง บ้านเมืองมีบทลงโทษมีกฎหมายที่ใช้ลงโทษคนทำผิด ขื่อ คือเครื่องมือที่ใช้จงจำนักโทษ เช่น อย่าที่อะไรที่ผิดกฎหมายหรือรุนแรงนะเพราะบ้านเมืองทีขื่อมีแป
  • บ้าหอบฟาง หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ชอบหอบหิ้วขนของพะรุงพะรัง เห็นอะไรชอบอะไรก็ขนกับมาหมด
  • บ้าห้าร้อยจำพวก หมายถึง คนที่มีความบ้าหลายประเภท
  • บุญทำกรรมแต่ง หมายถึง เรื่องการทำบุญหรือกรรมไว้ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งส่งผลให้ความเป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นไปบุญหรือกรรมที่ทำไว้ เช่น คนที่มีรูปร่างหน้าที่ผิดแปลกจากคนทั่วไปบางคนก็เชื่อว่าเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน หรือคนที่มีฐานะร่ำรวยวาสนาดีบางคนก็ว่าเป็นเพราะบุญที่ทำไว้ในชาติก่อน
  • บุญมาวาสนาส่ง หมายถึง คนที่มีความโชคดีหรือทำอะไรได้แต่สิ่งดีๆ คนก็มักจะพูดว่าบุญมาวาสนาส่ง
  • เบี้ยต่อไส้ หมายถึง เงินที่มีพอประทังชีวิตพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไปวันๆ
  • เบี้ยน้อยหอยน้อย หมายถึง การมีเงินน้อยมีรายได้
  • เบี้ยบ้ายรายทาง หมายถึง การใช้จ่ายเงินไปเรื่อยๆเป็นระยะๆจนกว่าสิ่งที่ทำนั้นจะเสร็จสิ้น เช่น การลงทุนทำธุรกิจหรือการก่อสร้างสิ่งต่างๆ จะไม่ได้จ่ายเงินเป็นก้อนจบครั้งเดียวจะต้องใช้จ่ายหลายครั้ง
  • แบกหน้า หมายถึง การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยการจำใจและไม่เต็มใจ เช่น ก. ทะเลาะกับ ข. และ ก. เป็นฝ่ายผิดคุณครูเลยบอกให้ ก. ไปขอโทษ ข. ก.จึงต้องแบกหน้าไปขอโทษโดยไม่เต็มใจ
  • บอกศาลา หมายถึง การตัดขาดหรือการตัดความรับผิดชอบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การตัดญาติพี่น้อง การตัดขากการเป็นเพื่อน
  • แบไต๋ หมายถึง บอกความลับเทคนิคหรือเรื่องราวต่างๆให้ผู้อื่นรับรู้
  • บวชก่อนเบียด หมายถึง คำว่า เบียด หมายถึงการแต่งงานมีภรรยา ขนมธรรมเนียมของคนไทยส่วนใหญ่ผู้ชายจะต้องบวชก่อนแต่งงาน
  • เบี้ยล่าง เบี้ยบน หมายถึง เบี้ยบนคนผู้ที่เป็นฝ่ายชนะหรือได้เปรียบ เบี้ยบนหมายถึงคนที่เป็นผู้แพ้หรือเสียเปรียบ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ป.ปลา

  • ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับเด็ก บางคนชอบเถียงชอบต่อปากต่อคำกับผู้ใหญ่ก็มักจะโดนผู้ใหญ่ว่าปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม
  • ปากตำแย หมายถึง ปากอยู่ไม่สุขคันปากชอบพูดเรื่องคนนั้นทีคนนี้ทีพูดมากขี้ฟ้อง
  • ปากตลาด หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนปากจัดพูดมากเถียงเก่ง
  • ไปอย่างน้ำขุ่น ๆ หมายถึง พูดหลบๆเลี่ยงๆกับสิ่งที่ไม่อยากพูดอยากตอบ สำนวนนี้มีความหมายคล้ายกับ แถจนสีข้างถลอก
  • ปากเปียกปากแฉะ หมายถึง การพูดการบ่นการสอนบ่อยๆพูดคำเดียวซ้ำๆ
  • ปากปราศรัยใจเชือดคอ หมายถึง ปากพูดจาดีตัวตัวเป็นคนดีแต่ข้างในเป็นคนที่มีความคิดร้าย
  • ปัญญาแค่หางอึ่ง หมายถึง มีความรู้มีปัญญาน้อยนิดเหมือนหางอึ่งที่มีอันนิดเดียว
  • ปล่อยนกปล่อยกา หมายถึง ปล่อยศัตรูหรือคนที่กระทำความผิดให้พ้นจากความผิดที่ทำไว้ ไม่ถือสาคิดเสียว่าปล่อยนกปล่อยกา
  • โปรดสัตว์ได้บาป หมายถึง การช่วยคนอื่นแต่ตัวเองกับได้รับโทษเป็นการตอบแทน สำนวนนี้มีความหมายเหมือนกันกับทำคุณบูชาโทษโปรดสัตว์ได้บาป
  • ปากคนยาวกว่าปากกา หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับการพูดเรื่องราวต่อกันเป็นทอด แต่ความจริงและปากคนก็ยื่นน้อยกว่าปากกาแต่ใช้ความว่าปากคนยาวกว่าปากกาเพราะ ปากใช้แพร่กระจายข่าวต่างได้เยอะและรวดเร็วกว่าปากกา
  • ปิ้งปลาประชดแมว หมายถึง การประชดประชันอีกฝ่ายหนึ่งแต่ผู้ถูกประชดไม่ได้รู้สึกอะไร แต่กลับได้ประโยชน์จากการประชดนั้น และผู้ประชดอาจกลายเป็นผู้เสียผลประโยชน์เองก็ได้
  • ปิดควันไฟไม่มิด หมายถึง การปกปิดเรื่องราวที่ไม่ดีของตัวเองแต่ปิดยังไงก็ปิดไม่มิดยังไงเรื่องราวก็อื้อฉาวอยู่ดี เหมือนการปิดควันไฟไว้แต่พยายามปิดยังไงควันก็ลอยออกไปตามลมอยู่ดี
  • ปิดทองหลังพระ หมายถึง การทำความดีแต่ไม่เปิดเผยไม่ผู้อื่นรับรู้ไม่มีคนเห็น เช่น กอบริจาคเงินให้กับทางวัดเพื่อสร้างโบสถ์เป็นจำนวนมากแต่ไม่เปิดเผยให้คนอื่นรับรู้ว่าตัวเองบริจาค
  • ปั้นน้ำเป็นตัว หมายถึง มักใช้เปรียบเทียบกับคนที่มีนิสัยชอบโกหกพูดเรื่องที่ไม่เป็นความจริง พูดเกินกว่าเหตุชอบปั้นเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริงชอบพูดเรื่องเหลวไหล
  • ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า หมายถึง การจะทำการใดๆต้องทำให้เหมาะสมกับฐานะและความสามารถของตัวเองเท่าที่จะทำได้ สำนวนนี้มีความคล้ายๆกับนกน้อยทำรังแต่พอตัว
  • ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย หมายถึง การทำอะไรผิดพลาดโดยไม่คิดให้รอบครอบวางแผนให้ดีตั้งแต่แรกจนทำให้เกิดผลเสียและกลับมาเสียใจทีหลัง
  • ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน หมายถึง การทำอะไรก็ต้องทำตามใจถูกใจกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ เช่นการสร้างบ้านก็ต้องสร้างตามใจเจ้าของบ้านผู้อยู่อาศัยถึงแม้ว่าจะมีบุคคลอื่นบอกว่าทรงนี้สวยทรงนี้ดีหรือไม่ดี หรือเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตคู่คนที่ต้องใช้ชีวิตคู่กันก็มีสิทธิที่จะเลือกคนรักของตัวเองพ่อแม่จะเลือกให้ไม่ได้
  • ปลูกเรือนคล่อมตอ หมายถึง การกระทำซึ่งล่วงล้ำก้าวก่ายสิทธิของผู้อื่น ทำให้เกิดเรื่องทะเลาะบาดหมางกันได้
  • ปล่อยปลาไหลลงตม หมายถึง มีความหมายคล้ายๆกับปล่อยเสือเข้าปลา สำนวนนี้ใช่เปรียบกับผู้ชายที่เจ้าชู้เมื่อปล่อยให้ไปเที่ยวในสถานที่อโคจร ก็เหมือนกับปลาไหลคืนสู่ถิ่นเพราะผู้ชายเจ้าชู้มีนิสัยลื่นไหลไม่อยู่กับร่องกับรอยซึ่งจะทำให้เกิดเรื่องชู้สาวได้
  • ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึง ปล่อยให้คนที่ไม่ดีกลับไปสู่ถิ่นของตัวเอง เช่น ตำรวจจับคนร้ายได้แล้วแต่ยังไม่ทันระวังปล่อยให้คนร้ายหนีไปได้ เมื่อคนร้ายกลับคืนสู้ถิ่นฐานของตัวเองก็ย่อมระวังตัวทำให้จับได้ยากและมีแผนการร้ายเป็นภัยต่อสังคม
  • ปลาหมอตายเพราะปาก หมายถึง คนที่คิดไม่ดีและพูดไม่ดีพูดมากโดยไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ตนพูดเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี จนกระทั่งเดือดร้อนกับสิ่งที่ตนเองพูดออกมาก
  • ปลาติดร่างแห หมายถึง คนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องใดเรื่องนั้นแต่ต้องเป็นคนรับผิดชอบหรือรับเคราะห์กับเรื่องนั้นไปด้วย เช่น กอเป็นคนขายกาแฟโบราณ แล้วมีคนมาสั่งให้เอากาแฟไปส่งบ้านหลังหนึ่งที่มีคนเล่นการพนันในนั้นและกอก็ไม่รู้เลยว่าบ้านหลังนั้นเล่นการพนัน เมื่อไปส่งกาแฟพร้อมกับตำรวจมาจับนักพนันในบ้านหลังนั้นกอเลยโดนจับไปด้วย ก็เลยเรียกกันว่าติดร่างแห
  • ปลาตกน้ำตัวโต หมายถึง การทำสิ่งของหรือทรัพย์สินสูญหายไปแต่สิ่งนั้นเป็นสิ่งเล็กน้อยมีมูลค่าน้อย แต่กลับบอกคนอื่นที่ไม่เคยเห็นสิ่งนั้นมาก่อนว่าเป็นสิ่งที่ใหญ่มากมีค่ามาก เช่น คุณหญิงคนหนึ่งทำสร้อยเพชรหายและประกาศว่าสร้อยเพชรนั้นมีมูลค่าหลายล้านแต่ความจริงแล้วเพชรนั้นเป็นแค่เพชรปลอม
  • ปลาข้องเดียวกัน ตัวหนึ่งเน่า ก็พลอยพาให้เหม็นไปด้วย หมายถึง คนที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นครอบครัว ถ้าคนใดคนหนึ่งในกลุ่มทำตัวไม่ดีก็จะทำให้คนอื่นมองคนในกลุ่มเสียไปด้วย เช่น ในครอบครัวหนึ่งคนใดคนหนึ่งเป็นคนขี้โกงขี้ขโมยก็จะทำให้คนภายนอกมองครอบครัวนั้นว่าเป็นครอบครัวขี้โกง
  • ปลาใหญ่กินปลาเล็ก หมายถึง บุคคลที่มีอำนาจเป็นคนใหญ่คนโตสามารถใช้อำนาจนั้นทำอะไรก็ได้ แต่บุคคลนั้นใช้อำนาจข่มขู่ผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าหรือคนที่อ่อนแอกว่า
  • ปีกกล้าขาแข็ง หมายถึง คนที่พึ่งพาตัวเองได้เหมือนลูกนกเมื่อพึ่งเกิดก็อาศัยพ่อแม่หาอาหารมาให้กิน เมื่อปีกกล้าขาแข็งก็สามารถพึ่งพาหาอาหารด้วยตัวเองได้

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ผ.ผึ้ง

  • แผลเก่า หมายถึง ความเจ็บช้ำที่ฝังลึกอยู่ในใจเมื่อมีคนพูดหรือสะกิดกับเรื่องที่เจ็บปวดก็จะรู้สึกเสียใจ ก็เหมือนการใช้มือตีแผลที่ยังรักษาไม่หายดี
  • ไผ่ลู่ลม หมายถึง อ่อนโอนอ่อนไหวเป็นตามเหตุหรือสถานการณ์ต่าง เหมือนกับยอดไผ่เมื่อมีลมพัดไปทิศทางใดยอดไผ่ก็จะลู่ไปทางทิศทางลม
  • ผักชีโรยหน้า หมายถึง การทำอะไรเป็นเพียงเล็กน้อยเป็นการฉาบหน้าเพื่อจะลวงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์ไปหมด การทำอะไรชั่วคราวให้คนอื่นเห็นว่าดี
  • ผัดวันประกันพรุ่ง หมายถึง การขอเลื่อนเวลาไปครั้งแล้วครั้งเล่าไม่ทำให้ภาระเสร็จสิ้นเสียที เช่น กอว่าจะทำการบ้านให้เสร็จในวันศุกร์แต่ก็เลื่อนไปทำวันเสาร์จนกระทั่งวันอาทิตย์การบ้านก็ยังไม่เสร็จ
  • ผัวหาบเมียคอน หมายถึง การช่วยกันทำมาหากินทั้งผัวทั้งเมีย
  • ผ้าขี้ริ้วห่อทอง หมายถึง การแต่งตัวหรือการกระทำที่ดูเหมือนว่าไม่ร่ำรวยไม่หรูหราหรือดูเหมือนไม่มีฐานะ แต่ข้างในแท้จริงแล้วเป็นคนที่มีฐานะดีเพียงแต่ไม่แสดงออกนั้นเอง
  • ผีไม่มีศาล หมายถึง ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นแหล่งเร่รอนมักพเนจรไปตามสถานที่ต่างๆ
  • ผู้ดีแปดสาแหรก หมายถึง ดีทั้งวงศ์ตระกูล ผู้ดี คือ ผู้ที่มีความดีประพฤติดี สาแหรก คือ ผู้ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่วงศ์ตระกูล คือ พ่อแม่ของปู่และย่าเป็น 4 พ่อแม่ของตายายเป็น 4รวมกันเป็น 8
  • แผ่สองสลึง หมายถึง การนอนเหยียดยาวทั้งสองมือสองเท้านอนแบบสบายๆ
  • ผิดหูผิดตา หมายถึง การผิดปกติไม่เหมือนเดิม เช่น วันนี้เธอไปทำอะไรมาสวยผิดหูผิดตาเชียวนะ
  • ผินหลังให้ หมายถึง ไม่สนใจไม่ใยดีไม่ยุ่งเกี่ยวซึ่งกันและกัน
  • ผิดพ้องหมองใจ หมายถึง ขุ่นข้องหม่องใจ ไม่ชอบใจในการกระทำของฝ่ายตรงข้าม
  • ผิดสำแดง หมายถึง อาการผิดปกติของร่างกายหรือสิ่งของที่ไม่ปลอดภัยกับตัวเอง เช่น อาการหรือสิ่งของต่างๆที่ทำให้ร่างกายแพ้
  • ผ้าเหลืองร้อน หมายถึง อาการของพระที่อยากสึกไม่สงบสุขในสมณเพศ มีเหตุหรือกิเลสในอยากสึกออกจากความเป็นพระ
  • ผิดเป็นครู หมายถึง การกระทำที่ผิดพลาดแต่จะส่งผลให้เป็นประสบการณ์ในภายภาคหน้า เพื่อให้มีวิธีปกกันหรือแนวทางที่จะไม่ทำอีก
  • ผลพลอยได้ หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้นอกเหนือจากเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือเป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังตั้งแต่แรก
  • แผ่นดินกลบหน้า หมายถึง ตาย เพราะในสมัยก่อนบางพื้นที่ใช้การฝั่งศพแทนการเผา
  • ผีเข้าผีออก หมายถึง การกระทำเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เช่น แม่ค้าทำกับข้าวบางครั้งก็อร่อยบางครั้งก็ไม่อร่อยผีเข้าผีออก
  • ผงเข้าตาตัวเอง หมายถึง เมื่อผู้อื่นมีปัญหาก็ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษากับผู้อื่นได้ แต่เมื่อถึงคราวที่ตัวเองมีปัญหากับแก้ไขปัญหาไม่ได้ เหมือนกันฝุ่นผงเข้าตาและไม่สามารถเอาฝุ่นออกได้ด้วยตัวเอง
  • เผื่อขาดเผื่อเหลือ หมายถึง เตรียมสำรองไว้เผื่อไม่พอใช้ เช่น การจัดงานวันนี้อาหารต้องเตรียมให้พอกับแขกที่มาเผื่อขาดเผื่อเหลือไว้
  • ผ่อนผันสั้นยาว หมายถึง การยกโทษผ่อนผันให้ซึ่งกันและกัน การประนีประนอมกัน
  • ผ่อนหนักผ่อนเบา หมายถึง มีความหมายคล้ายๆกับผ่อนสั้นผ่อนยาว
  • ผักต้มขนมยำ หมายถึง จับนู้นจับนี่มาผสมปนเปกันมั่วไปหมด
  • ผิดฝาผิดตัว หมายถึง ไม่เข้าพวกไม่เข้าชุดกัน คนละพวกคนละฝ่าย
  • ผีซ้ำด้ำพลอย หมายถึง เมื่อถึงยามเคราะห์ร้ายหรือดวงไม่ดีทำอะไรผิดพลาดก็จะโดนซ้ำเติมอีก
  • ผีถึงป่าช้า หมายถึง ไม่มีทางเลือกที่จะไปต่อต้องจำใจอยู่ทั้งๆที่ไม่อยากอยู่
  • ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย หมายถึง เปรียบเทียบกับการอยู่ร่วมกันในครอบครัวหรืออยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ ถ้าคนภายในครอบครัวหรือสมาชิกในกลุ่มไม่ดีไม่มีความรักสามัคคีกันก็จะทำให้บุคคลภายนอกเข้ามาก่อความเดือดร้อนให้กับสมาชิกภายในบ้านได้ง่ายขึ้น
  • ผู้ชายพายเรือ หมายถึง ผู้ชายทั่วไป
  • ผู้หญิงยิงเรือ หมายถึง ผู้หญิงทั่วไป
  • ผู้ร้ายปากแข็ง หมายถึง คนที่ไม่ยอมรับความจริงหรือไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำผิด

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด พ.พาน

  • พกหินดีกว่าพกนุ่น หมายถึง เปรียบเทียบกับใจคน พกหิน คือ การทำจิตใจให้เข้มแข็งหนักแน่นไม่อ่อนไหวเหมือนหิน พกนุ่น คือ การมีจิตอ่อนไหวง่ายเหมือนนุ่นเชื่อคำพูดของคนอื่นโดยไม่คิดหน้าคิดหลังทำให้คนอื่นชักจูงได้ง่าย
  • พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น หมายถึง มีความพร้อมหรือได้รับโอกาสที่ดีแต่ก็ไม่สามารถคว้าสิ่งนั้นเอาไว้ได้ เช่น เมื่ออยากได้สิ่งของที่มีราคาแพงแต่ไม่มีเงินซื้อ แต่เมื่อมีเงินซื้อสิ่งนั้นก็หมดไปเสียแล้ว
  • พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ หมายถึง เหตุการณ์ที่คาดหวังไว้มีการเปลี่ยนแปลงอาจจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้
  • พิมเสนแลกกับเกลือ หมายถึง การลดตัวเองไปทำในสิ่งที่แย่กว่ามีแต่จะเสียหายกับตัวเองและจะเป็นการลดคุณค่าในตัวเอง
  • พุ่งหอกเข้ารก หมายถึง การกระทำสิ่งได้เป็นมักง่ายทำให้เสร็จๆไปเป็นลวกๆ โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาทีหลังและไม่คิดเลยว่าผู้อื่นจะได้รับความเดือดร้อนหรือไม่
  • เพชรตัดเพชร หมายถึง คนที่มีความสามารถหรือสติปัญหาที่เก่งพอๆ เมื่อมีการแข่งขันหรือวัดความสามารถกันผลก็จะออกมาเสมอ
  • พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง การพูดหรือทำอะไรออกแล้วจะทำให้เกิดผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น แต่ถ้าอยู่นิ่งๆเฉยไม่พูดอะไรออกไปก็จะดีเสียกว่า
  • แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร หมายถึง การยอมคู่กรณีเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องราวใหญ่โตหรือเหตุการณ์บานปลาย แต่หากไม่ยอมปัญหาต่างๆก็จะบานปลาย
  • พระมาลัยมาโปรด หมายถึง ในเวลาที่เดือดร้อนตกทุกข์ได้ยากหรือช่วงเวลาขับขัน แต่มีคนมายื่นมือให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลา
  • พระอิฐพระปูน หมายถึง เหมือนคนไม่มีความรู้สึกไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็อยู่นิ่งๆเฉยๆไม่รู้สึกดีใจหรือเสียใจกับใคร
  • พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ หมายถึง รู้ทันกันหรือรู้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะพูดหรือจะทำอะไร
  • พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วพาตัวเสียหาย หมายถึง การพูดดีทำดีเป็นการสร้างความดีให้กับตัวเองส่งผลให้คนอื่นนับถือและชื่นชม แต่ถ้าพูดไม่ดีปากเสียคนก็จะเกลียดชังไม่มีคนรักใคร่นับถือ
  • พูดเป็นต่อยหอย หมายถึง พูดมากพูดไม่หยุดปาก ที่ใช้เปรียบเทียบกับคำว่าพูดเป็นต่อยหอยเพราะ ต่อย คือ การทุบ คนจะใช้ค้อนทุบหอยเวลาทุบก็จะเสียงทุบอย่างต่อเนื่อง
  • เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก หมายถึง เพื่อนกินเพื่อนเที่ยวหาง่ายหาที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เพื่อนที่จะอยู่ข้างเราเวลาที่เราลำบากหรือเดือดร้อนมักจะหาได้ยากและมีน้อย
  • พูดเป็นนัย หมายถึง พูดอ้อมทำให้สงสัยไม่พูดตรงไปตรงมา
  • แพะรับบาป หมายถึง คนที่รับเคราะห์หรือรับผิดแทน
  • พร้างัดปากไม่ออก หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนที่เงียบไม่ค่อยพูดไม่ค่อยจา
  • พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ หมายถึง พูดไม่เพราะพูดหวนๆไม่มีหางเสียง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ฟ.ฟัน

  • ฟังความข้างเดียว หมายถึง การฟังคำพูดของคนฝ่ายเดียวและกลับตัดสินคนอื่นว่าเป็นคนยังไง
  • ฟังหูซ้าย ทะลุหูขวา หมายถึง ได้ยินรับฟังแต่ฟังไม่รู้เรื่องหรือไม่ทำตาม
  • ฟาดเคราะห์ หมายถึง เรื่องราวที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับตัวเอง หรือการเกิดอุบัติเหตุทำให้ตัวเองเจ็บตัว แต่ไม่คิดกังวลกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นและคิดในแง่ดีไว้ก่อนว่าถือซะว่าฟาดเคราะห์
  • ไฟจุกตูด หมายถึง มีความหมายคล้ายกับไฟลนก้น
  • ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึง เปรียบเทียบกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวอย่านำไปเล่าให้คนภายนอกฟัง และอย่าเอาเรื่องราวจากภายนอกเข้ามาทำให้คนภายในบ้านเดือนร้อน
  • ไฟไหม้ฟาง หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่ดีแต่เกิดขึ้นเพียงแปบเดียวเดี๋ยวก็หายไป เหมือนกับอารมณ์แค่ชั่ววูบของคน
  • ไฟลนก้น หมายถึง กะทันหันการกระทำที่รีบร้อนรีบเร่งให้ทันเวลาที่กำหนดไว้ เช่น จะรีบเร่งสั่งงานให้เสร็จทันเวลาถ้าไฟไม่ลนก้นไม่อยากทำนะเนี่ย
  • ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอามากระเดียด หมายถึง การรับฟังเรื่องราวต่างๆโดยที่ไม่เข้าใจ แต่กับไปเล่าต่อทำให้เรื่องราวและข่าวสารผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
  • ฟังหูไว้หู หมายถึง การรับฟังเรื่องราวต่างโดยที่ยังไม่ปักใจเชื่อต่อเรื่องที่ได้รับฟัง และฟังความคิดเห็นทั้งสองฝ่ายโดยที่ยังไม่เลือกเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
  • ฟื้นฝอยหาตะเข็บ หมายถึง พูดถึงเรื่องราวในอดีตและเกิดการทะเลาะกันหรือเป็นเรื่องราวที่เป็นประเด็นให้เกิดปัญหา
  • ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ หมายถึง ไม่ตีตนเสมอผู้ที่มีอายุเยอะกว่าหรือผู้ที่มียศศักดิ์เหนือกว่าตน ให้รู้จักกาละเทศะรู้จักที่ต่ำที่สูง
  • ไฟสุมขอน หมายถึง มีเรื่องกลุ้มรุ่มร้อนใจ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ม.ม้า

  • มะนาวไม่มีน้ำ หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับการพูดจาพูดไม่เพราะพูดหวนๆไม่มีหางเสียง
  • มะพร้าวห้าวขายสวน หมายถึง เอาสิ่งของมาให้กับคนที่มีอยู่แล้ว หรือใช้เปรียบเทียบกับการแสดงความรู้ในเชิงแนะนำหรือสอนคนที่มีความรู้มากอยู่
  • มัดมือชก หมายถึง การบังคับหรือใช้วิธีการต่างๆเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายสามารถคัดค้านหรือต่อสู้ได้
  • มันเทศขึ้นโต๊ะ หมายถึง การนำสิ่งของหรืออื่นที่เป็นสิ่งธรรมดาและสามารถพบเห็นได้ทั่วไป มายกย่องเชิดชู
  • มากหน้าหลายตา หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนมีคนมากมายมาอยู่ในสถานที่เดียวกัน เช่น งานเลี้ยงวันนี้แขกมาเยอะมากหน้าหลายตาเลยที่เดียว
  • มากหมอมากความ หมายถึง การแสดงความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายแต่ละคนต่างคนต่างความคิดทำให้ไม่ลงตัว
  • มารคอหอย (มาน-คอ-หอย) หมายถึง ใช้เปรียบเทียบถึงบุคคลที่เข้ามาขัดผลประโยชน์ที่อีกฝ่ายหนึ่งกำลังจะได้แต่ต้องเสียผลประโยชน์ไปเพราะคนที่ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นมารคอหอย
  • มารหัวขน หมายถึง เด็กทารกที่อยู่ในท้องซึ่งไม่ทราบว่าใครคือพ่อของเด็ก
  • มาสำเภาเดียวกัน หมายถึง พวกเดียวกันฝ่ายเดียวกัน
  • มาเหนือเมฆ หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ความสามารถหรือทักษะที่เหนือกว่าผู้อื่นปรากฏตัวขึ้น โดยไม่มีคนคาดคิดหรือรู้มาก่อน
  • มีภาษีกว่า หมายถึง การได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง
  • มีหน้ามีตา หมายถึง เป็นที่รู้จักในหมู่สังคมมีคนเคารพนับถือยกย่องเชิดชู
  • มีอันจะกิน หมายถึง มีฐานะดีมั่งมี
  • มีอายุ หมายถึง คนที่มีอายุเยอะ ผู้สูงอายุ
  • มีเส้น หมายถึง การมีบุคคลเป็นผู้สนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง
  • มืดฟ้ามัวดิน หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับผู้คนคนเยอะ เช่น ผู้คนเข้ามาดูคอนเสริตะวันนี้เยอะมากมืดฟ้ามัวดิน
  • มืดแปดด้าน หมายถึง ปัญหารุมเร้าจนหาทางออกไม่เจอ คิดไม่ออก จนปัญญา
  • มือซุกหีบ หมายถึง การรับภาระหรือหน้าที่ไม่ใช่ภาระและหน้าที่ของตัวเอง
  • มือที่สาม หมายถึง บุคคลที่เข้ามาทำลายหรือยุให้คนสองมีเรื่องทะเลาะผิดใจกัน
  • มือสะอาด หมายถึง คนที่ประพฤติดีมีความสุจริตไม่เคยทุจริตคดโกงหรือสร้างความเดือนร้อนให้ผู้อื่น
  • มือห่างตีนห่าง หมายถึง คนที่ไม่ระมัดระวังชอบทำสกปรกเลอะเทอะ
  • มืออ่อนตีนอ่อน หมายถึง อาการตกใจอย่างรุนแรงจนมือไม่อ่อน เช่น ฉันวิ่งเข้ามาแบบจนทำให้เข้าตกใจมืออ่อนตีนอ่อนจนทำให้จานอยู่ในมือเขาร่วงลงพื้น
  • มือใครยาวสาวได้สาวเอา หมายถึง การแข่งขันแย่งชิงสิ่งของหรือผลประโยชน์
  • ม้วนเสื่อ หมายถึง การหมดตัวจากการเล่นการพนันหรือการค้าขายลงทุนจนขาดทุนทำให้หมดตัวไม่มีทุนค้าขายต่อ
  • ม้าดีดกะโหลก หมายถึง คนที่มีกริยาหรือพฤติกรรมที่ไม่เรียบร้อยซนเหมือนเด็ก กระโดงกระเดงอยู่ไม่นิ่ง
  • เมาดิบ หมายถึง คนที่มีอาการคล้ายคนเมาเหล้าแต่ความจริงไม่ได้เมาหรือแกล้งเมา
  • เมื่อเอยก็เมื่อนั้น หมายถึง เตรียมพร้อมเสมอ
  • แม่ม่ายไร้ทาน หมายถึง แม่ม่ายคือผู้หญิงที่มีสามีแล้วแต่สามีเสียชีวิตหรือหย่าร้างกัน แล้วไม่มีทรัพย์สินเงินทองอะไรติดตัวเลย
  • ไม่กี่น้ำ หมายถึง อีกสักพักอีกสักครู่ ไม่ช้าไม่นาน เช่น การเดินทางวันนี้อีกไม่กี่น้ำก็ถึงที่หมายแล้ว
  • ไม่ชอบมาพากล หมายถึง เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ผิดปกติไม่น่าไว้วางใจ
  • ไม่ดูดำดูดี หมายถึง ไม่ดูแลเอาใจใส่เมื่อเวลาที่ทุกข์ยากลำบาก

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ย.ยักษ์

  • ย้อมแมวขาย หมายถึง การนำสิ่งของที่พังเสียหายหรือชำรุดแล้วมาซ่อมแซมตกแต่งให้ดูสวยงาม แล้วหลอกคนอื่นว่าเป็นของดีมีคุณค่าแต่เมื่อใช้งานจริงก็ไร้ประสิทธิภาพ
  • ยื่นแก้วให้วานร หมายถึง เอาสิ่งของที่มีคุณค่าไปมอบให้กับคนที่มีรู้จักหรือเห็นคุณค่ากับของสิ่งนั้น
  • ยกเครื่อง หมายถึง การซ่อมหรือการปรับปรุงครั้งใหญ่
  • ยกเค้า หมายถึง การโดนขโมยทรัพย์สินไปจนหมด เช่น บ้านหลังนี้โดนยกเค้า
  • ยกภูเขาออกจากอก หมายถึง การหมดปัญหาที่ค้างคาทำให้โล่งอกโล่งใจ
  • ยกเมฆ หมายถึง การคาดเดาหรือเอาเรื่องบางเรื่อง หรือเหตุการณ์ที่ไม่มีมูลความจริงมาเป็นข้ออ้าง
  • ยกยอปอปั้น หมายถึง การชื่นชมการสรรเสริญเยินยอเกินความเป็นจริง
  • อย่าหวังน้ำบ่อหน้า หมายถึง สิ่งของที่เห็นและได้แน่นอนแล้วแต่ไม่รับไม่เอา กลับไปคาดหวังจะเอาสิ่งที่ยังไม่เห็นและไม่รู้ว่ามีหรือไม่
  • ยุแยงตะแคงรั่ว หมายถึง บุคคลที่ชอบทำให้คนอื่นทะเลาะมีเรื่องผิดใจกัน พูดให้คนอื่นเขาใจผิดซึ่งกันและกัน
  • ยื่นหมูยื่นแมว หมายถึง ยื่นแลกสิ่งของหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือผลประโยชน์ของซึ่งกันและกัน
  • แย้มปากเห็นไรฟัน หมายถึง เพียงแค่พูดออกมาอีกฝ่ายหนึ่งก็รู้และเข้าใจความหมายว่าคนที่พูดจะสื่อสารอะไร
  • ยื่นจมูก หมายถึง ความอยากรู้อยากเห็นเรื่องของคนอื่นหรือการเข้าไปยุ่งธุระของคนอื่นที่ไม่ใช่ธุระของตัวเอง
  • ยืมจมูกคนอื่นหายใจ หมายถึง การทำการใดๆดดยที่ไม่ลงมือทำเองมักพึ่งพาคนอื่นเสมอ เมื่อคนอื่นปิดจมูกก็ไม่สามารถหายใจได้ เหมือนกับเมื่อคนอื่นไม่ทำให้สิ่งที่อยากทำก็ไม่เสร็จสิ้นและไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง
  • ยืนกระต่ายขาเดียว หมายถึง การยืนหยัดในความคิดของตัวเองไม่เปลี่ยนใจ
  • ยักษ์ปักหลั่น หมายถึง การเปรียบเทียบกับรูปร่าง การมีรูปร่างใหญ่โตเหมือนยักษ์
  • ยักท่า หมายถึง การเปลี่ยนท่าทีไม่ทำเหมือนที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ที่แรก
  • ยาหม้อใหญ่ หมายถึง สิ่งที่น่าเบื่อไม่น่าทำ
  • ยักกระสอบ หมายถึง การสับเปลี่ยนสิ่งของ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ร.เรือ

  • รกคนดีกว่ารกหญ้า หมายถึง รกคนหมายถึงคนเยอะคนมากแต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่หญ้าเยอะหญ้ารกใช้ประโยชน์ไม่ได้
  • รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี หมายถึง เปรียบเหมือนการห้ามปรามการดุเพื่อเตือนเมื่อลูกทำผิดก็ต้องมีการลงโทษสั่งสอนกันบ้าง
  • รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา หมายถึง การรักดีใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก
  • รักพี่เสียดายน้อง หมายถึง การตัดสินใจทำอะไรไม่ถูกจะเลือกอีกอย่างหนึ่งก็เสียดายอีกอย่างหนึ่ง สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบกับเรื่องการรักๆใคร่ๆจะเลือกอีกคนก็เสียดายอีกหนึ่งคน
  • รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ หมายถึง รักจะอยู่ด้วยกันนานๆให้ตัดความพยาบาท การระงับอารมณ์ไม่ให้อีกฝ่ายต้องเสียน้ำใจ
  • ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ หมายถึง เปรียบเทียบกับคนที่มีอำนาจสองคนจะอยู่ที่เดียวกันไม่ได้เพราะต่างคนต่างมีความต้องการในผลประโยชน์และแข่งขันกัน
  • รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง หมายถึง การทำอะไรได้ไม่ดีหรือทำอะไรไม่ได้อย่างที่ต้องการ ก็โทษว่าเป็นความผิดของคนนั้นคนนี้
  • รู้หลบเป็นปลีก รู้หลีกเป็นห่าง หมายถึง การรู้จักหลบหลีกการเอาตัวรอดจากภัยต่างที่จะมาถึงตัว
  • เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน หมายถึง การสูญเสียหรือทำอะไรสักอย่างหายไปแต่ไม่กังวลอะไรเลยเพราะคิดว่ายังไงก็ต้องได้คือ เช่น การทำของหายในห้องนอนแต่ไม่รู้สึกทุกข์ร้อนอะไรเลยเพราะยังไงๆก็หาเจอ
  • เรือล่มเมื่อจอด หมายถึง การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดระยะที่ทำมาสามารถทำได้เป็นอย่างดีแต่เมื่อใกล้จะเสร็จงานแล้วกลับมีความผิดพลาดล้มเหลวเกิดขึ้น
  • รีดเลือดกับปู หมายถึง การขูดรีดขู่บังคับกับคนที่ไม่มีทางที่จะหาให้ได้ เหมือนกับการรีดเลือดกับปูกับปูไม่มีเลือด
  • รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม หมายถึง มีความรู้ไว้ไม่หนักเหมือนการแบกหามความรู้ไม่มีน้ำหนักการเรียนรู้หลายอย่างหรือการเรียนรู้มากๆก็ไม่หนักไม่เปลืองแรงหรือเสียหายแต่อย่างใด
  • รวบหัวรวบหาง หมายถึง ฉวยโอกาสเมื่อมีโอกาส เช่น การผูกมัด รวบรัดให้สั้นลง ทำให้เสร็จแล้วขึ้น
  • รอดปากเหยี่ยวปากกา หมายถึง รอดพ้นหรือหนีจากอันตรายได้ทันเวลา
  • ระยำตำบอน หมายถึง การมีพฤติกรรมหรือความคิดที่ไม่ดีชอบทำอะไรพิเรนๆ
  • รักนักมักหน่าย หมายถึง เมื่อสนิทกันมากก็ขาดความเกรงใจและไม่ให้เกียรติกัน
  • รัดเข็มขัด หมายถึง การประหยัดการลดค่าใช้จ่าย
  • ราชรถมาเกย หมายถึง การมีลาภ ยศ ตำแหน่ง ลาภลอย โดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน
  • รู้มากยากนาน รู้น้อยพลอยรำคาญ หมายถึง รู้มากเกินไปก็ทำให้ยุ่งยากมากเรื่อง หากรู้น้อยเกินไปก็ทำให้ไม่เข้าใจอะไรเลย
  • รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หมายถึง คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายหรือเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนได้
  • เรียนผูกต้องเรียนแก้ หมายถึง รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข รู้กลอุบายทุกทางทั้งทางก่อและทางแก้
  • รู้งูงู ปลาปลา หมายถึง มีความรู้เพียงเล็กน้อยหรือไม่รู้เรื่องจริง

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ล.ลิง

  • ล้วงคองูเห่า หมายถึง การกล้าไปลองดีท้าทายความสามารถต่อผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตน ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือทำให้ตัวเองเดือดร้อนได้
  • ลิงตกต้นไม้ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้หรือเชี่ยวชาญในเรื่องใดก็อาจผิดพลาดในเรื่องนั้นได้
  • ลิ่นกับฟัน หมายถึง คนที่อยู่ด้วยกันหรือใกล้ชิดกันมากๆก็จะต้องมีเรื่องทะเลาะผิดใจกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา
  • หลังขดหลังแข็ง หมายถึง การทำงานต่อเนื่องกันเป็นเวลานานโดยไม่ได้หยุดพัก
  • ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก หมายถึง ผู้ที่ชอบพูดว่าสิ่งต่างๆทำได้ง่ายแต่พอเวลาจริงทำไม่ได้อย่างที่พูดไว้
  • ลิ้นตวัดถึงใบหู หมายถึง คนที่พูดจาตลบตะแลงเชื่อไม่ได้
  • ลูกไก่อยู่ในกำมือ หมายถึง ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจไม่มีทางหนีหรือต่อสู้ได้
  • เลือกที่รัก มักที่ชัง หมายถึง ลำเอียงไม่มีความเป็นธรรมเลือก
  • ลิ้นสองแฉก หมายถึง คนที่พูดสับปลับเชื่อถือไม่ได้
  • เลือดขึ้นหน้า หมายถึง โมโหจนขาดสติ โกรธจนหน้าแดง
  • ลิงขี้ใส่เรือ หมายถึง คนที่มีความซุกซนมักทำให้ของดีกลายเป็นของเสีย
  • โลภมากลาภหาย หมายถึง อยากได้หลายอย่างไม่รู้จักพอในที่สุดก็ไม่ได้อะไรเลย
  • เล่นกับหมาหมาเลียปาก หมายถึง การที่ผู้ใหญ่ไปเล่นกับผู้น้อยหรือคนอายุน้อยกว่าแบบสนิทสนม ก็จะทำให้ผู้น้อยกลับลามปามเล่นกับผู้ใหญ่แบบไม่ให้เกียรติ
  • ลงเรือแปะ ตามใจแปะ หมายถึง เมื่อไปอยู่หรืออาศัยพึ่งพาใคร ก็ต้องทำตามใจของคนเจ้าของบ้านหรือต้องมีความเกรงใจคนๆนั้น
  • ลางเนื้อชอบลางยา หมายถึง ใช่เปรียบเทียบกับความแตกต่างของคนเราเพราะมีความชอบไม่เหมือนกัน เช่น ยาทาสิวใช้กับคนนี้ไม่ได้ผลแต่ใช้กับอีกคนได้ผล
  • ลิงหลอกเจ้า หมายถึง เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็ทำตัวเรียบร้อยน่ารัก แต่เมื่ออยู่ลับหลังก็ดื้อซนเหมือนลิง
  • ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น หมายถึง ลูกย่อมมีพฤติกรรมหรือนิสัยคล้ายๆกับพ่อแม่
  • ลูบหน้าปะจมูก หมายถึง การจะทำอะไรโดยเด็ดขาดหรือจะลงโทษคนที่ทำผิดโดยเด็ดขาดแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะคนที่ทำผิดเป็นคนใกล้ชิดหรือลูกหลานของตัวเอง
  • เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง หมายถึง คนที่ได้รับผลพลอยได้หรือผลประโยชน์ที่ไม่สุจริตหรือไม่ค่อยโปร่งใสเสียเอง
  • เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ หมายถึง การอุปการะเลี้ยงดูไม่ว่าจะเป็นลูกตัวเองหรือลูกคนอื่นก็ตาม ถ้าเด็กคนนั้นมีนิสัยไม่ดีก็จะก่อความเดือดร้อนให้กับผู้เลี้ยงดูได้
  • เลือดข้นกว่าน้ำ หมายถึง เลือดเปรียบเหมือนกับญาติสนิทคนใกล้ชิด น้ำเปรียบเหมือนกับคนอื่น ญาติพี่น้องหรือคนสนิทของตัวเองก็มีความสำคัญกว่าคนอื่นเสมอ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ศ.ศาลา

  • ศรศิลป์ไม่กินกัน หมายถึง การไม่ถูกกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ชอบหน้ากัน
  • ศิษย์คิดล้างครู หมายถึง บุคคลที่คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์หรือคนที่ฟูกฟักให้ความรู้แก่ตนเอง
  • ศาลเตี้ย หมายถึง การลงโทษหรือการจับคนมารับผิดโดยไม่ใช้กฎหมายถึง แต่ตั้งกลุ่มทำกันเองโดยพลการ

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ส.เสือ

  • เสียกำซ้ำกอบ หมายถึง การสูญเสียอะไรไปแล้วในปริมาณน้อยนิด แต่กลับต้องมาเสียเพิ่มอีกในปริมาณมากกว่าเดิม
  • ใส่ไข่ หมายถึง การพูดจาใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นในเรื่องที่ไม่ดีหรือเรื่องที่ไม่เป็นความจริง หรือการพูดเกินความจริงให้ผู้อื่นเสียหาย
  • สิ้นไร้ไม้ตอก หมายถึง หมดหนทางไม่มีใครหรืออะไรที่จะช่วยเหลือได้
  • สิบเบี้ยใกล้มือ หมายถึง การได้สิ่งของหรืออะไรก็แล้วแต่ถึงจะมีค่าเพียงเล็กน้อยก็ควรจะเอามาเก็บไว้ก่อน
  • สู้ยิบตา หมายถึง สู้จนถึงที่สุดสู้ไม่ถอย
  • เสือนอนกิน หมายถึง ผู้ได้รับประโยชน์โดยที่ไม่ต้องลงทุนหรือลงแรงใดๆ
  • เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน หมายถึง การยุยงให้คนสองคนหรือสองฝ่ายทะเลาะกันหรือำให้เกิดการเข้าใจผิดกัน
  • สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ หมายถึง การมีความสุขจากการทำความดีหรือการมีความทุกข์จาการทำความชั่ว
  • สุนัขจนตรอก หมายถึง คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะหมดทางเลือก
  • สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง หมายถึง คนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นก็สามารถพลาดพลั้งได้
  • สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมายถึง คนที่ทำอะไรไว้ก็ต้องได้สิ่งนั้นตอบ ทำดีก็ต้องได้ดีตอบแทนเมื่อทำชั่วก็ต้องได้ชั่วตอบแทน

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด ห.หีบ

  • หอกข้างแคร่ หมายถึง การมีศัตรูอยู่ใกล้ตัว เช่นคนใกล้ชิดหรือคนสนิทอาจจะคิดร้ายคิดไม่ดีทำร้ายเราเมื่อไหร่ก็ได้
  • หาเหาใส่หัว หมายถึง การหาเรื่องใส่ตัวหรือการนำเอาปัญหาไม่สู่ตัวเอง ทั้งๆที่ปัญหาเล่านั้นก็ไม่ใช้ปัยหาที่ตัวเองต้องรับผิดชอบ
  • หาเลือดกับปู หมายถึง การขูดรีดขู่บังคับกับคนที่ไม่มีทางที่จะหาให้ได้ เหมือนกับการรีดเลือดกับปูกับปูไม่มีเลือด

สํานวน สุภาษิตไทย หมวด อ.อ่าง

  • เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ หมายถึง การทำการใดๆดดยที่ไม่ลงมือทำเองมักพึ่งพาคนอื่นเสมอ เมื่อคนอื่นปิดจมูกก็ไม่สามารถหายใจได้ เหมือนกับเมื่อคนอื่นไม่ทำให้สิ่งที่อยากทำก็ไม่เสร็จสิ้นและไม่
  • อ้อยเข้าปากช้าง หมายถึง การให้สิ่งของหรือการเสียสิ่งของให้กับคนอื่นไปแล้วก็ไม่สามารถเอากลับคืนมาได้
  • เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ หมายถึง แกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะไม่ได้รับผิดชอบกับเรื่องนั้น
  • เอามือซุกหีบ หมายถึง การหาเรื่องเดือดร้อนหรือการเอาความลำบากมาใส่ตัว
  • อาบน้ำร้อนมาก่อน หมายถึง ผู้ที่เกิดก่อนจะเคยผ่านเหตุการณ์ต่างๆมามากมายและมีประสบการณ์มากกว่าคนเกิดทีหลัง
  • อดเปรี้ยวไว้กินหวาน หมายถึง การอดทนหรือฝืนใจรอสิ่งที่ดีกว่าในวันข้างหน้าที่จะมาถึง
  • อ้าปากเห็นไรฟัน หมายถึง รู้เท่าทันกันรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะทำอะไร มีความคล้ายๆแค่พูดก็เห็นลิ้นไก่
  • อาบเหงื่อต่างนํ้า หมายถึง คนที่ทำงานหนักอยากเหน็ดเหนื่อยจนเหงื่อไหลท่วมตัว
  • เอะอะมะเทิ่ง หมายถึง การพูดคุยส่งเสียงดังโดยที่ไม่เกรงใจผู้อื่น
  • เอาใจเขา มาใส่ใจเรา หมายถึง การรู้จักเห็นอกเห็นใจคนอื่นไม่ทำอะไรตามใจตัวเอง
  • อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ หมายถึง การลดตัวเองไปทำในสิ่งที่แย่กว่ามีแต่จะเสียหายกับตัวเองและจะเป็นการลดคุณค่าในตัวเอง

วีดีโอตัวอย่างสำนวนไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ใส่ความเห็น